สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

พริกจินดา พริกพื้นบ้านรสชาติดี

พริกจินดา เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของพริกที่นิยมปลูกกันอย่างมากในท้องตลอด ถูกจัดให้เป็นพืชสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย พริกจินดานั้นอยู่ในกลุ่มของพริกขี้หนูผลใหญ่ นำไปใช้ทั้งในรูปของพริกสด พริกแห้ง และซอสพริก โดยพันธุ์ที่นำมาปลูกกันนั้นมีทั้งพันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์ผสมที่ผ่านการวิจัยทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยแหล่งปลูกสำคัญในประเทศนั้นจะอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางรองกันมาตามลำดับครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมร่วมด้วย คือ สภาพดินที่จะต้องเป็นดินร่วนปนทราย เพราะจะสามารถระบายน้ำได้ดี

แม้พริกจินดาจะสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่แน่นอนว่าวิธีการปลูกที่สำคัญนั้นเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่การเตรียมแปลงดินสำหรับปลูกเพราะ จะต้องทำการไถตากดินไว้ประมาณเกือบ 10 วัน แล้วจึงใส่ปุ๋ยคอก ลงในพื้นที่ดินที่เราจะปลูก แล้วจึงไถกลบ และเมื่อฝนตกลงมาจึงไถแปรดินอีกครั้งครับ ก่อนที่เราจะไปสู่การเพาะกล้า เราจะต้องเตรียมเมล็ดพันธุ์แช่น้ำไว้ 1 คืน และใช้ผ้าขาวไม่หนามาก ใช้ผ้าบางๆ ห่อเมล็ดแล้วนำไปเก็บไว้ในพื้นที่ชื้น 2 – 3 วัน  จึงจะนำไปเพาะในกระบะ หรือ แปลงเพาะต่อไป

ต้นกล้าพริกจินดา เมื่อมีใบงอกออกมาประมาณ 5 ใบ หรือมีอายุได้ 30 วัน เราจึงจะทำการย้ายต้นกล้าพริกจินดาลงแปลงปลูกที่เตรียมเอาไว้แล้ว โดยลักษณะของการปลูกก็จะขึ้นอยู่กับลักษณะของดินที่แตกต่างกันออกไปด้วยครับ โดยหากปลูกในสภาพลุ่มดอน หรือ เขตชลประธาน ควรจัดระยะห่างระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระหว่างต้น 50 เซนติเมตร หรือหากมีการยกแปลงปลูก แปลงควรมีความกว้าง 0.8 เมตร มีความยาว 10 – 20 เมตร และมีร่องน้ำ 0.25 เมตร ในสภาพไร่ที่ต้องอาศัยฝน ระยะห่างระหว่างแถว 0.5 เมตร แถวคู่ที่ปลูกควรห่างกัน 1.2 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 0.5 x 0.5 เมตร หรือ ใช้ระยะห่างการปลูก ระหว่างแถว 100 เซนติเมตร ระหว่างต้น 50 เซนติเมตร โดยการปลูกนั้นจะต้องนำไม้เสียบลงแต่ละจุด 1 หลุมต่อต้นกล้าพริก 3 ต้น ผู้ปลูกเองจะต้องหมั่นดูแลเอาใจใส่ด้วยการดูแลต้นพริกให้ได้รับน้ำในปริมาณที่สม่ำเสมอและเพียงพอต่อการเจริญเติบโตในช่วงแรก เพราะดินจะต้องมีความชุ่มชื้น แต่ก็ต้องไม่แฉะหรือเปียกจนเกินไปนะครับ และในกรณีที่ดินนั้นแห้งเกินไป ไม่สามารถให้น้ำได้ เราควรใช้วัสดุ เช่น ฟางข้าว เปลือกถั่ว คลุมดินไว้

การให้ปุ๋ยนั้นจะต้องให้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารครบถ้วน ด้วยตัวพริกจินดานั้น เป็นพืชประเภทที่มีระยะเวลาการเก็บเกี่ยวผลที่ค่อนข้างยาวนาน และเพื่อป้องกันสัตว์จำพวกเพลี้ย หนอน แมลง ควรที่จะจัดให้มีการฉีดน้ำหมักที่ใบ การเก็บเกี่ยวนั้นถ้านับจากวันที่ย้ายต้นกล้าจะอยู่ที่ประมาณ 90 วัน แต่ถ้านับจากวันที่ได้ผลผลิตก็จะอยู่ที่ประมาณ 60 – 90 วันครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook