สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

กระจับ พืชน้ำหายาก

กระจับ สามารถพบเจอได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์  โดยเด็กในปัจจุบันอาจจะไม่รู้จักพืชชนิดนี้หรือไม่เคยเห็นหน้าตาเลยก็ว่าได้ เมล็ดหรือเหง้าของพืชกระจับจะมีหน้าตาคล้ายกับเขาควายและมีผิวคล้ายกับหนังควาย ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ชอบเรียกชื่อว่ากระจับควาย แม้จะมีหน้าตาไม่เหมือนพืชชนิดอื่นทั่วไปแต่ประโยชน์นั้นก็มีมากมายไม่ต่างจากพืชชนิดอื่นเลยครับ โดยเหง้ากระจับสามารถนำมาปรุงรสประกอบอาหารได้ ไม่ว่าจะเป็นของคาวหรือหวานก็สามารถทำได้หมด เพราะเหง้ากระจับจะมีเนื้อในที่หวานเย็นเหมาะสำหรับใช้ปรุงรสอาหาร และยังใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย ซึ่งหากปลูกเป็นบัวประดับแล้วสามารถส่งออกต่างประเทศได้เลยล่ะครับ โดยประเทศที่นิยมมากที่สุดนั้นก็คือประเทศญี่ปุ่นครับ

กระจับยังนับว่าเป็นพืชสมุนไพรที่ช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศของผู้ชายและผู้หญิงได้ รวมทั้งสามารถบำรุงครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ และ ใช้เป็นยาแก้ร้อนใน ส่วนในเนื้อฝักยังมีวิตามินเอและธาตุฟอสฟอรัสที่ช่วยในเรื่องของการบำรุงผิวพรรณและกระดูก เปลือกฝักก็สามารถแก้ปวดท้องและท้องเสียได้โดยการนำมาต้มน้ำดื่ม  เห็นไหมล่ะครับว่าประโยชน์และสรรพคุณของต้นกระจับนั้นมีหลากหลายเลยทีเดียวครับ

ต้นกระจับมีลักษณะลำต้นอ่อนสีเขียว เป็นพืชที่อาศัยอยู่ในน้ำ ภายในลำต้นมีอากาศเหมือนฟองน้ำ ทำให้ลำต้นสามารถลอยบนผิวน้ำได้ กระจับเป็นพืชที่มีใบเป็นสองแบบ ใบที่อยู่เหนือน้ำจะรูปร่างรีอ้วน คล้ายหยดน้ำ ส่วนใบที่อยู่ใต้ผิวน้ำนั้นจะเรียวยาว มีสีเขียวเข้ม ผิวเรียบมัน ปกคลุมด้วยขน และใบใต้น้ำจะมีลักษณะเหมือนรากโดยจะแต่งอกออกตามข้อของต้น ดอกกระจับนั้นจะมีสีขาวขนาดเล็กอยู่ในต้นกระจับ

การปลูกต้นกระจับสามารถทำได้โดยวิธีการเพาะเมล็ด โดยเริ่มจากใส่แกลบดำและดินในอัตราส่วน 1:1 นำมาใส่กระถางไว้ จากนั้นนำเมล็ดที่เตรียมไว้ใส่ไปในดินและรดน้ำในกระถางให้ท่วมอยู่เสมอ และรอเวลาประมาณ 30 วัน ฝักจะเริ่มงอกขึ้นมาก็ให้ย้ายไปปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ได้ ซึ่งแปลงที่เตรียมนั้นไม่ควรมีน้ำสูงจนเกินไปเพราะยากต่อการเก็บเกี่ยว ให้กักน้ำไว้เหมือนการทำนาประมาณ 30-50 เซนติเมตรก็พอแล้ว และจะต้องเป็นแปลงที่โล่งแจ้งไม่มีต้นไม้บดบังแสงแดด

เวลาเก็บเกี่ยวก็รอประมาณ 5 เดือนฝักถึงจะเริ่มแก่โดยสามารถสังเกตได้จากใบฝักจะเริ่มมีสีเหลืองถึงจะเก็บได้ประมาณอาทิตย์นึงต่อครั้ง เมื่อเก็บมาแล้วก็ควรที่จะรีบขายผลผลิตหรือนำไปแปรรูปขายเพราะฝักเก็บมักจะเสียง่ายควรรีบที่จะขายหรือแปรรูปครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook