สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

กระเจี๊ยบเขียวพืชมากประโยชน์

กระเจี๊ยบเขียวเป็นพืชที่ชื่นชอบอากาศร้อนชื้น นิยมปลูกในภาคกลางของประเทศไทย เพราะเป็นพืชที่ให้ผลดีในสภาพอากาศร้อนชื้น อีกทั้งยังทนต่อโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากพืชบางชนิด  ปลูกง่ายและดูแลไม่ยาก แถมยังเป็นที่ต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมอีกด้วย เพราะสามารถใช้ในการแปรรูปเป็นกระเจี๊ยบผงที่ใช้เป็นส่วนผสมของอาหาร  ทำให้รสชาติของอาหารดีขึ้น จึงทำให้เป็นพืชที่สร้างรายได้ เป็นจำนวนมาก เพราะสามารถให้ผลฝักที่ดกได้ตลอดชั่วอายุของต้น

กระเจี๊ยบเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุเพียง 1 ปี มีลำต้นสีเขียวอ่อน เล็กและมีขนขึ้น บริเวณลำต้น มีสีน้ำตาลแต่งแต้มบริเวณลำต้น ใบของกระเจี๊ยบเขียวมีลักษณะคล้ายใบบัวแต่ขอบใบจะหยักเล็กน้อยและมีเส้นของใบชัดเจนกว่า ดอกของกระเจี๊ยบเขียวนั้นจะมีดอกสีเหลืองอมขาว และต้นกระเจี๊ยบเขียวยังให้ฝักที่มีสีเขียว โดยผลฝักนั้นจะมีหัวเหลี่ยมรอบๆ ผลประมาณสี่เหลี่ยมถึงเก้าเหลี่ยมแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ที่นำมาปลูก โดยกระเจี๊ยบเขียวที่นำมาปลูกในไทยนั้นได้แก่พันธุ์ Hit 9701 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่อยู่ในประเทศอินเดียและทนต่อโรคได้ดี ทั้งเนื้อฝักยังมีเส้นใยน้อยและติดผลง่าย ให้ผลผลิตได้เยอะอีกด้วย และยังมีพันธุ์ที่ไทยได้ปรับปรุงจนได้พันธุ์ที่เหมาะสมที่จะปลูกในประเทศไทยที่มีลักษณะสีเขียวสดและทนต่อโรคได้ดี ให้ฝักจำนวนเยอะแล้ว ก็ยังมีคุณภาพและน้ำหนักดีอีกด้วย

ส่วนการปลูกกระเจี๊ยบเขียวนั้นจะนิยมใช้วิธีการเพาะเมล็ด โดยเริ่มจากการนำเมล็ดมาแช่น้ำเพื่อกำจัดศัตรูพืช โดยให้ผสมยาฆ่าเชื้อราและป้องกันแมลงแช่ไว้ประมาณ 30 นาทีหรือนานกว่านั้นเล็กน้อย จากนั้นให้เตรียมดินโดยการไถพรวนหน้าดินประมาณ 2 ครั้ง หากดินมีสภาพเป็นกรดก็ให้ใส่ปูนขาวในอัตราส่วน 80 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ รวมทั้งใส่ปุ๋ยคอกลงไปในดิน 2 ตันต่อไร่และปุ๋ย จำนวน 35 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับดินให้อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกกระเจี๊ยบเขียวมากยิ่งขึ้น และให้ปลูกยกร่องเว้นระยะห่างระหว่างต้น 50 * 75 cm ก็จะได้จำนวนต้นประมาณ 8,000 ต้นต่อ 1 ไร่ ใช้วิธีการหว่านเมล็ดลงไปโดยปริมาณเมล็ดที่ใช้นั้นเป็นจำนวน 1 กิโลกรัมต่อไร่ จากนั้นก็รดน้ำทุกวันเพียงวันละ 1 ครั้งก็พอแล้วล่ะครับหลังจากนั้นก็สามารถลดปริมาณการให้น้ำเพียงแค่ 3-4 วันครั้ง และหมั่นใส่ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอเพียงเท่านี้ก็รอเก็บผลผลิตได้แล้วนะครับ จะนำไปวางขายตามท้องตลาดทั่วไหรือนำขายส่งเป็นวัตถุดิบในการแปรรูปก็ได้ครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook