สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

การขยายพันธุ์ต้นหมาก เรื่องไม่ยากแต่ต้องประณีต

ต้นหมาก พืชดั้งเดิมของเอเชียเราที่มีการกระจายและขยายพันธุ์ไปทั่วและอยู่คู่ประเทศไทยเรามาอย่างยาวนาน พบได้จากร่องรอยการเคี้ยวหมากของคนไทยโบราณที่ปัจจุบันอาจจะยังพบเห็นได้ในบางพื้นที่ แต่เด็กรุ่นใหม่ๆ อาจจะได้ยินได้ฟังจากเรื่องเล่าในอดีตหรือในละครโทรทัศน์ย้อนยุคเกี่ยวกับการกินหมาก แม้ว่าปัจจุบันจะมีการเคี้ยวหมากน้อยลง และเราอาจจะพบเห็นเพียงในงานพิธีกรรมต่างๆ เท่านั้น แต่ความต้องการหมากในตลาดกลับไม่ได้ลดลง เพราะหมากยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งใช้สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องหนัง ที่นำไปใช้ในการฟอกหนัง อุตสาหกรรมสิ่งทอที่นำไปใช้เป็นสีย้อมเส้นใยต่างๆ รวมทั้งอวนและแห อุตสาหกรรมยารักษาโรคที่นำไปสกัดเป็นยาและสมุนไพร รวมถึงกาบใบหมากที่สามารถนำไปผลิตเป็นภาชนะต่างๆ ที่ย่อยสลายได้ง่าย  เป็นต้น ดังนั้นจึงเกิดเป็นอาชีพการปลูกหมากเพื่อนำผลผลิตส่งออกจำหน่ายไปยังคู่ค้าต่างประเทศที่ยังมีความต้องการมากกว่ากำลังการผลิตที่เราสามารถส่งออกได้

การขยายพันธุ์ต้นหมากนั้นจะทำได้ด้วยวิธีเพาะเมล็ด จากผลหมากสุกในพันธุ์ที่เราต้องการปลูก ควรปลูกในดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำได้ดี หรือจะใช้ดินร่วนผสมกับขี้เถ้าแกลบก็ได้ มีความร่วนซุยและโปร่ง มีอินทรีย์วัตถุสมบูรณ์ ทำเลที่ปลูกควรอยู่เหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 200 เมตร ถึง 1,500 เมตร ภูมิอากาศเฉลี่ยประมาณ 25-35 องศาเซลเซียส แสงแดดส่องถึงทั้งวัน มีปริมาณน้ำไม่ต่ำกว่า 1,500 มิลลิลิตรต่อปี เริ่มต้นจากการเพาะชำในถุงดำที่ใส่วัสดุเพาะเรียบร้อยแล้ว ให้วางหมาก

การเตรียมแปลงปลูกเพื่อการขยายพันธุ์ต้นหมากต้องมีการกำจัดวัชพืชและไถพรวนดินให้ร่วนซุยประมาณ 2 รอบ ยกร่อง เว้นระยะปลูกประมาณ 2 เมตรเป็นอย่างน้อย หากมีพื้นที่มากพอ ควรเว้นระยะถึง 4 เมตรเพื่อให้ได้ผลผลิตดีขึ้น หลุมปลูกควรมีขนาด 50 เซนติเมตร โดยมีดินผสมปุ๋ยคอกรองก้นหลุมก่อนที่จะนำต้นกล้าลงปลูกและกลบดินพอแน่นและปักไม้ค้ำมัดต้นกล้ายึดไว้รอให้ตั้งตรง ใช้หญ้าแห้งคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดินและอาจจะใช้สแลนบังแสงในช่วงแรก การรดน้ำ ควรรดน้ำ ทุก 2 วันครั้งในช่วงแรก และเมื่อต้นตั้งตรงแล้วจึงเว้นระยะในการรดน้ำให้รดเพียง 1 ครั้งต่อสัปดาห์ หากดูแลให้ปุ๋ยคอกอย่างเหมาะสมราว 3-4 ปีจะเริ่มเก็บผลผลิตรุ่นแรกได้ และสามารถเก็บเกี่ยวได้ยาวนานถึง 20-30 ปี

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook