สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

การเลี้ยงกวาง หนึ่งในสัตว์เศรษฐกิจ

กวางเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีการเลี้ยงเพื่อนำเนื้อ หนังและเขาอ่อนไปจำหน่าย โดยผู้ที่สนใจจะเริ่มทำฟาร์มกวางนั้นควรมีความรู้เกี่ยวกับกวาง ว่าพันธุ์ใดที่เหมาะสมในการเลี้ยงในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย พันธุ์ไหนให้ผลผลิตดี แหล่งพ่อแม่พันธุ์กวางที่ดีและเชื่อถือได้อยู่ที่ไหน เพราะการเลี้ยงกวางมีข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติภายใต้ พรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2535 โดยผู้ที่จะครอบครองสัตว์ป่า จะต้องเป็นสัตว์ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเท่านั้น ดังนั้นเรื่องของแหล่งที่มาของกวางและฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ต้องสามารถระบุได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังต้องศึกษาเรื่องแหล่งอาหารในบริเวณที่เราทำฟาร์มมีมากน้อยแค่ไหน หากจะทำแปลงปลูกเองต้องคำนึงถึงแหล่งน้ำที่จะใช้ในการดูแลหญ้าอาหารกวางด้วย รวมทั้งพิจารณาเรื่องของต้นทุนว่าเป็นอย่างไร และต้องศึกษาถึงตลาดว่าจะผลิตส่งตลาดใดเป็นพิเศษ แต่ละตลาดมีกฎเกณฑ์และแนวโน้มเป็นอย่างไร รวมทั้งเรียนรู้ระบบการจัดการฟาร์มอย่างถ่องแท้ก่อนที่จะเริ่มต้น เพื่อจะได้วางแผนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

พันธุ์กวางที่มีการเลี้ยงเชิงเศรษฐกิจ ได้แก่ กวางแดง  กวางฟอลโล กวางปิติ กวางมักส์ กวางรูซาและกวางเรนเดียร์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละพันธุ์ก็จะมีสีขนและขนาดลำตัวและเขาอ่อนแตกต่างกันไป กวางเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องที่มี 4 กระเพาะ ชอบกินอาหารหยาบ ดังนั้นจึงทำให้ต้นทุนค่าอาหารไม่สูงนัก สามารถปลูกหญ้าอาหารสัตว์หรือผักบางชนิดไว้เพื่อใช้เป็นอาหารกวางได้ เช่น หญ้าคา หญ้านมหมอน ผักชีฝรั่ง เป็นต้น ซึ่งเจ้าของฟาร์มส่วนใหญ่มักทำแปลงหญ้าเพื่อใช้เป็นอาหารกวางภายในฟาร์ม นอกจากนี้ในส่วนของอาหารหวางนั้นยังสามารถใช้ฟางแห้ง มันสำปะหลังแห้งเป็นอาหารได้ด้วย

ทำเลที่เหมาะต่อการเลี้ยงกวางนั้นควรเป็นที่ดอนที่น้ำไม่สามารถท่วมได้ โดยสามารถเลี้ยงกวางได้ทั้งแบบปล่อยให้กวางหากินตามธรรมชาติ ไม่ต้องจัดการหรือทำระบบใดๆ มากนัก แต่ผลผลิตที่ได้อาจจะไม่ดีเท่าที่ควร เพราะการควบคุมและการเสริมอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีการเลี้ยงแบบนี้กับการเลี้ยงเชิงอนุรักษ์อนุรักษ์ เพื่อให้ได้ศึกษาวิธีการดำรงชีวิตของกวาง พฤติกรรมกวางมากกว่าการเลี้ยงเชิงพาณิชย์ หรือจะเลี้ยงแบบกึ่งปล่อย คือปล่อยให้กวางออกแทะเล็มกินหญ้าตามรรมชาติแต่มีการเพิ่มอาหารเสริมเพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตตามที่คาดหวังวิธีการนี้ใช้ต้นทุนไม่มาก แต่หากต้องการผลผลิตที่สูง ควรจะเลี้ยงแบบขังในคอก โดยทำการขังกวางแบบแยกเพศ แยกขนาด ที่จะเน้นการจัดการอย่างละเอียด ทั้งเรื่องของอาหารและการควบคุมโรครวมไปถึงการผสมพันธุ์ ทำให้ได้ผลผลิตตามความคาดหวังและสามารถทำเป็นธุรกิจหลักได้

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook