สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

กุ้งแม่น้ำ เลี้ยงในบ่อทำอย่างไร?

กุ้งแม่น้ำ กุ้งตัวโตที่ใช้ชีวิตและเติบโตอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อย พบปริมาณจำนวนมากในน่านน้ำของประเทศไทย เนื้อให้รสชาติหวานมันอร่อย นิยมนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุงรสเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ ด้วยความที่มีเนื้อรสชาติอร่อยเป็นเอกลักษณ์ กุ้งมีขนาดโต เนื้อแน่น ทำให้กุ้งแม่น้ำมีราคาแพงเป็นอย่างมาก สามารถขายได้กิโลกรัมล่ะ 400-1400 บาทเลยทีเดียว แต่เดิมนั้นมีการจับกุ้งแม่น้ำกันมากในบริเวณแม่น้ำที่มีน้ำจืดและน้ำกร่อย จนปริมาณกุ้งลดน้อยลง เพื่อนๆ เกษตรกรบางรายจึงหันมาเลี้ยงกุ้งแม่น้ำในบ่อกันเองแทนครับ นอกจากจะสามารถควบคุมปริมาณและการให้อาหารได้แล้ว หากเลี้ยงได้ปริมาณมากยังสามารถคำนวณกำไรและขาดทุนก่อนนำไปขายได้ อีกทั้งวิธีการเลี้ยงก็ไม่ยาก ลงทุนไม่เยอะ เลี้ยงง่าย ได้ราคา สามารถยึดเป็นแหล่งรายได้หลักได้เลยก็ว่าได้ครับ

กุ้งแม่น้ำ เป็นสัตว์น้ำจืดและน้ำกร่อย ชอบความเงียบสงบมีขนาดตัวใหญ่ สีฟ้าอมเขียว ขายาวเนื้อแน่น ชอบกินปลาตัวเล็ก ไรน้ำ รวมทั้งแพลงก์ตอน กุ้งแม่น้ำมีขนาดตัวใหญ่สุด 1 ฟุต มีน้ำหนักถึง 1 กิโลกรัมเลยทีเดียวครับ

วิธีเลี้ยงกุ้งแม่น้ำในปัจจุบัน นอกจากจะสามารถเลี้ยงได้ในบ่อแล้ว ยังทำบ่อเลี้ยงกั้งขนาดเท่าวงล้อปูนได้อีกด้วย วิธีทำก็เริ่มจากทำบ่อปูนขนาดประมาณ 3×5เมตร และให้มีความลึก 50 เมตร และควรสร้างบ่อในที่ร่ม หรือที่ที่มีหลังคากำบังบ่อ ต่อท่อน้ำเข้าบ่อแล้วฉาบด้วยปูน จากนั้นก็นำหยวกกล้วยมาแช่น้ำไว้ในบ่อปูน เพื่อกำจัดสารเคมี แล้วปรับสภาพของบ่อให้เหมาะกับเป็นที่อยู่อาศัยของกุ้ง แช่ไว้ประมาณ 7-14 วัน เมื่อครบกำหนดแล้วให้ปล่อยน้ำทิ้งและนำหยวกกล้วยไปทิ้ง พร้อมกับใส่น้ำสะอาดเข้าไปในบ่อพร้อมกับใส่หินและท่อ PVC ให้ลูกกุ้งหลบภัย

จากนั้นก็ทำการคัดเลือกพันธุ์กุ้งแม่น้ำ โดยเลือกลูกกุ้งที่มีขนาดตัว 5 เซนติเมตร พันธุ์ที่ว่ายน้ำไว จะทำให้กุ้งแม่น้ำมีร่างกายที่แข็งแรง ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี จากนั้นก็ทำการปล่อยลูกกุ้งลงน้ำ ให้นำถุงที่บรรจุลูกกุ้งแช่ลงไปในน้ำในบ่อก่อน เพื่อที่จะปรับอุณหภูมิน้ำให้เท่ากันจากนั้นก็ค่อยๆนำน้ำในบ่อใส่ไปในถุงและปล่อยลูกกุ้งลงไปในที่สุด เพียงเท่านี้ก็เสร็จแล้วล่ะครับ วิธีดูแลก็หมั่นถ่ายน้ำออกเวลาน้ำขุ่น ทั้งยังควรให้อาหารอย่างสม่ำเสมอ เมื่อกุ้งแม่น้ำโตขึ้นก็สามารถนำไปขายได้ราคาตามน้ำหนักตัวได้เลยครับ หากเพื่อนๆ เกษตรกรคนไหนสนใจก็สามารถไปลองเลี้ยงกันดูได้นะครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook