สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ดอกขจร ผักปลูกง่าย ทำอาหารได้หลายเมนู

ดอกขจรที่เรามักนำมาปรุงเป็นดอกขจรผัดไข่นั้น แต่เดิมมีชื่อว่าดอกสลิด เป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมเมื่อบานเต็มที่ คนโบราณจะนำไปร้อยเป็นพวงมาลัยหรือเก็บดอกสดๆ ไปบูชาพระ และในรั้วในวังก็จะนำดอกขจรไปทำเป็นเครื่องหอมทั้งสดและแห้ง

ขจร เป็นต้นไม้ที่ขึ้นง่าย ดังนั้นจึงพบได้แม้ในป่าแล้งหรือขึ้นตามที่โล่งแจ้งตามธรรมชาติ ชอบแสงแดดแรง ทนแล้งได้ดี ลักษณะต้นเป็นเถาขนาดเล็ก เนื้อแข็ง เหนียว เลื้อยเกี่ยวได้ในระยะไกล มียอดเยอะ ทำให้พุ่มมีความหนาแน่น

นอกจากนำดอกขจรมาปรุงอาหารและทำเครื่องหอมแล้ว ยอดและผลอ่อนก็ยังสามารถนำมาปรุงอาหารได้อีกด้วย  โดยเฉพาะยอดอ่อนที่อุดมไปด้วยวิตามันเอ ซี และ แร่ธาตุต่างๆ มากกว่าดอกขจรอีกต่างหากครับ ทั้งยอด-ผล-ดอกขจร มีสรรพคุณ บำรุงปอด ตับ เลือด และแก้จุกเสียดในช่องท้องด้วย ส่วนรากก็นำมาถอนพิษได้

การปลูกดอกขจรขายในตลาดปัจจุบัน สามารถขายได้ทั้งดอก และขายได้ทั้งกิ่งพันธุ์ ต้นทุนน้อย และเก็บผลผลิตได้ถึง 5 ปี  และด้วยความทนต่อสภาพสิ่งแวดล้อม เราก็จะเบาแรงในส่วนของการดูแลลงได้ด้วย การจะปลูกดอกขจร เราต้องเริ่มจากการคัดเลือกพันธุ์ที่ให้ดอกสมบูรณ์ ทนต่อสภาพแวดล้อมและศัตรูพืช

เมื่อพันธุ์ที่ดีแล้ว เราก็ต้องเตรียมดิน ปรับธาตุอาหารในดินให้เรียบร้อย สารอาหารตัวไหนไม่พอก็เติมลงไป โดยทั่วไปเราก็ใช้ปุ๋ยจากขี้วัวไร่ละ 100 กิโลกรัม เลือกพื้นที่ปลูกที่มีแดดตลอดวันนะครับ แล้วทำการไถดินขึ้นตากไว้ 2 สัปดาห์ แล้วค่อยยกร่องแปลงขึ้น เว้นระยะระหว่างหลุมปลูก 1*1 เมตร ดังนั้น 1 ไร่ก็จะปลูกได้ 1,200 ต้น แล้วนำพันธุ์ที่ได้มาหยอดลงหลุมละ 3 ต้น กลบดิน รดน้ำ รอให้เติบโต พอเริ่มทอดยอดเราก็ต้องหาเชือกมาผูกยึดกับค้างนะครับ จนกว่าจะยึดแน่นได้เองค่อยตัดเชือกออก

การทำค้างให้เถาดอกขจรเลื้อยนั้นให้ใช้ไม้ 2 ต้น ความสูง 150 เซนติเมตร ปักห่างกัน 2 เมตร ตรงกลางระหว่าง เสา 2 ต้น ให้ปักไม้ไผขนาด 3-4 นิ้วไว้ แล้วผูกไม้ไผ่ผ่าซีกทำเป็นขั้นๆ ประมาณ 6 ขั้น เพื่อให้เถาของดอกเลื้อยขึ้นได้

ช่วงแรกรดน้ำวันทุกวัน ตอนเช้าตรู่หรือตอนเย็นก็ได้ครับ หลังจากนั้น 7 วัน ก็เริ่มให้ปุ๋ยคอกต้อนละ 1 กำมือ และพ่นน้ำขี้หมูลงบนใบทุก 7 วัน และช่วงต้นอ่อนให้เราพ่นน้ำส้มควันไม้เนืองๆ กันแมลงมากินบอ่อนครับ แค่นี้ก็รอเก็บเกี่ยวผลผลิตกันยาวๆ ไป 5 ปีเลยครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook