สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ดอกเยอบีร่า หลากสี หลายพันธุ์

ดอกเยอบีร่า ทับศัพท์มาจากชื่อสามัญภาษาอังกฤษ Gerbera เป็นดอกที่คนไทยเราคุ้นตากันมาช้านานจนบางคนอาจเผลอคิดไปว่าเป็นดอกไม้พันธุ์ดั้งเดิมของไทย แต่แท้ที่จริงแล้วกลับเป็นดอกไม้จากแอฟริกาใต้ ทำให้มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า African Daisy เป็นดอกที่อยู่ในสกุลเดียวกันกับดอกทานตะวัน จึงหันไปตามพระอาทิตย์ กลายเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของดอกเยอบีร่า และยังเป็นดอกไม้ที่มีสีสันให้เลือกสรรได้มากมาย ลำต้นไม่ใหญ่มากจึงเป็นที่นิยมปลูกกันมาก นอกจากนี้ในเชิงการค้าแล้วดอกชนิดนี้ยังถือว่าเป็นไม้ตัดดอกที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงและตลาดยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แหล่งผลิตที่สำคัญในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกันหลายจังหวัด ยกตัวอย่างเช่น ราชบุรี นนทบุรี เชียงราย เชียงใหม่ พัทลุง สงขลา ขอนแก่น หนองคาย เลย นครพนม โคราช เป็นต้น

ดอกเยอบีร่าที่พบเห็นส่วนใหญ่ในบ้านเราจะมีเป็นสายพันธุ์ไทย ที่ได้รับการปรับปรุงพัฒนาพันธุ์มาจากพันธุ์ดั้งเดิมที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศบ้านเรา แม้ว่าบางสายพันธุ์อาจจะมีกลีบเล็กไปบ้าง หรือสีสันอาจจะไม่ฉูดฉาดมากนัก แต่ละพันธุ์จะมีสีแตกต่างกันไป เช่น พันธุ์ขาวจักรสั้นและพันธุ์ขาวจักรยาว จะมีสีขาว ส่วนพันธุ์เหลืองพังสีและเหลืองถ่อ พันธุ์ที่มีดอกสีแดงคือพันธุ์แดงลักแทง เป็นต้น สำหรับสายพันธุ์ยุโรปนั้นจะมีดอกและกลีบดอกใหญ่ และมีอายุการปักแจกันได้ยาวนานกว่าพันธุ์ไทยแต่

การขยายพันธุ์ดอกเยอบีร่าเพื่อปลูกเป็นไม้ประดับ อาจจะใช้เวิธีการเพาะเมล็ดได้ โดยนำเมล็ดพันธุ์ไปเพาะในในกระบะที่บรรจุทรายหยาบ 1 ส่วน ผสมกับขุยมะพร้าว 1 ส่วน รดน้ำพอชุ่ม เมื่อต้นอ่อนงอกขึ้นและแตกใบประมาณ 3 ใบ ให้ย้ายลงปลูกในถุงดำและจัดวางไว้ในสถานที่ที่มีแดดรำไร ประมาณ 75-90 วัน เมื่อลำต้นตั้งตรงค่อยย้ายลงปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ นอกจากนี้ยังสามารถขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ โดยการขุดต้นเยอบีร่าที่มีอายุตั้งแต่ 7 เดือนขึ้นไปแยกหน่อที่มีรากติดมาตั้งแต่ 3 ราก มียอดตั้งแต่ 1 ยอด และมีใบจริงมากกว่า 4 ใบ นำไปชำในกระบะเพาะที่วางไว้ในที่แดดส่องรำไร ประมาณ 30-40 วันให้ย้ายลงปลูกในแปลง ซึ่งเป็นวิธีการที่อาจจะได้ต้นดอกน้อยกว่าการชำยอดโดยตรง แต่ต้นที่ได้จะไม่ค่อยเน่าเหมือนการชำยอด แต่หากต้องการผลิตดอกเยอบีร่าเพื่อตัดดอกขายในจำนวนมาก ควรใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ที่สามารถผลิตต้นพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วและปริมาณมาก และต้นพันธุ์ยังมีลักษณะตรงตามสายพันธุ์และมีความต้านทานต่อโรคพืชด้วย

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook