สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ด้วงเต่าแตง แมลงร้ายที่ต้องระวัง

ด้วงเต่าแตง แมลงศัตรูตัวร้ายที่พี่น้องชาวสวนแตงต่างส่ายหัว เพราะเป็นแมลงที่ก่อกวนต้นแตงจนเกิดผลกระทบต่อผลผลิตผลผลิต ด้วงเต่าจัดอยู่ในกลุ่มแมลงปีกแข็งที่โดยทั่วไปภาอังกฤษจะเรียกว่า Lady beetle ที่มีลักษณะแตกต่างกันไปตามสกุลและชนิด โดยมีมากถึง 4,200 ชนิดทั่วโลก แบ่งเป็นด้วงเต่าตัวห้ำที่เป็นประโยชน์ต่อการทำการเกษตรและด้วงเต่าศัตรูพืชที่มักจะเข้าทำลายพืชผักตระกูลแตง ไม่ว่าจะเป็นแตงไทย เมล่อน แตงโม หรือแตงล้าน รวมไปถึงพืชในวงศ์มะเขือ และ วงศ์ทานตะวัน สร้างความกังวลใจให้แก่เพื่อนๆ เกษตรกรยิ่งนัก

อย่างที่เขียนไปแล้ว ด้วงเต่าแตงนั้นมีหลายชนิด ดังนั้นจึงมีหลายลักษณะต่างกันไป ตั้งแต่ตัวเล็กไปถึงตัวใหญ่ ที่มีขนาดลำตัวตั้งแต่ 1 มิลลิเมตรไปจนถึงขนาด 10 มิลลิเมตร ลักษณะลำตัวมีทั้งแบบยาวทรงรี และทรงกลม แต่บริเวณหลังจะมีความนูนคล้ายหลังเต่า ผิวของหลังบางชนิดจะมีผิวมันเวาแต่บางชนิดก็จะมีขนอ่อนๆ ปกคลุมอยู่ สีของตัวด้วงจะมีทั้งแบบสีล้วนและลายจุด โดยสีแตกต่างกันตามชนิดตั้งแต่สีดำ เหลือง สีส้ม ด้วงชนิดนี้จะมีลำตัวเป็นปล้องประมาณ 7-11 ปล้อง ซ่อนหัวไว้ในปล้องแรก ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นหนวดสั้นได้ด้วยตาเปล่า

พฤติกรรมของด้วงเต่าแตงจะมีการวางไข่ขึ้นอยู่กับแต่ละชนิด บางชนิดวางไข่บนเหยื่อ บางชนิดวางไข่บนใบของต้นพืช บางชนิดวางไข่บริเวณโคนต้นไม้ บ้างวางไข่เป็นกลุ่ม บ้างวางไข่เดี่ยว ไข่จะมีรูปทรงรีสีเหลืองขุ่น ระยะเวลานับจากวางไข่ไปจนกระทั่งถึงการฟักออกมาเป็นตัวอ่อนหนอนใช้เวลาราว 4-10 วัน หนอนแต่ละชนิดจะมีลักษณะและสีของลำตัวแตกต่างกันไป บางชนิดมีผิวเกลี้ยงๆ เป็นปล้อง บางชนิดจะมีแป้งปกคลุมลำตัว มีความยาวราว 2.18  มิลลิเมตร หลังจากโตเต็มวัยจะผสมพันธุ์และตัวเมียจะวางไข่ต่อไป  โดยสามารถวางไข่ได้มากถึง 300 ฟองต่อครั้ง

ตัวอ่อนของด้วงเต่าแตงที่มีอายุระหว่างง 18-35 วันมักจะดำรงชีวิตอยู่ในดินบริเวณใต้ต้นแตง จะทำลายรากและโคนต้นของต้นแตงเพื่อกัดกินเป็นอาหาร ส่วนตัวเต็มวัยจะคอยกัดกินใบและดอกของต้นพืช สังเกตได้จากรูบนใบ เพราะด้วงจะค่อยๆ กัดใบเป็นรูพรุนก่อนที่จะทยอยกินใบทั้งหมด แมลงศัตรูพืชชนิดนี้สามารถเข้าทำลายต้นพืชได้ทุกช่วงวัยและในทุกฤดุกาล หากเป็นต้นแตงที่เป็นต้นอ่อนจะยิ่งเกิดความเสียหายทำให้ต้นพืชหยุดการเติบโต  ดังนั้นจึงต้องหมั่นตรวจตราแปลงพืชในช่วงเช้าตรู่ หากพบแมลงตัวร้ายให้รับกำจัดทันที เพื่อป้องกันการระบาดที่อาจจะลุกลามเพิ่มความรุนแรงเกินควบคุมได้

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook