สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ตำลึง กับ ตำลึงตัวผู้ พืชคนละชนิดที่เราควรรู้

ตำลึง ผักพื้นบ้านเก่าแก่อีกชนิดหนึ่งของไทยที่ใช้ทำอาหารอร่อยได้หลากหลายชนิด แต่ที่ขึ้นชื่อลือชามากที่สุดคงหนีไม่พ้น แกงจืดใบตำลึง ซึ่งมีกลิ่นรสชาติความหอมหวานอร่อยที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่มีใครเหมือนนอกจากนี้ข้อมูลต่างๆ ที่เผยแพร่อยู่ทั่วไป เกี่ยวกับสรรพคุณด้านสมุนไพร และคุณค่าสารอาหารที่เป็นประโยชน์ของใบตำลึง ก็จูงใจให้กับคนรักสุขภาพต่างก็อยากทาน ผักตำลึง เพราะทั้งอร่อยดีและมีประโยชน์

แต่ที่ผ่านมามีคนจำนวนมากที่ทานใบตำลึงเข้าไปแล้ว เกิดอาการท้องร่วง ท้องเสีย ปวดมวนท้อง จนทำให้เกิดความเข็ดขยาดและตั้งคำถามกันมากมาย มีการแชร์ข้อมูลแจ้งเตือนกันไป มีการค้นหาข้อมูลและให้ข้อมูลแลกเปลี่ยนกันมากมาย ว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดท้องร่วงท้องเสียนั้น เกิดจากการทานใบตำลึงเพศผู้เข้าไป ซึ่งหากทานใบตำลึงเพศเมียจะไม่เกิดปัญหา พร้อมทั้งมีการแชร์รูปภาพของใบตำลึงเพศผู้และเพศเมีย เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่าใบตำลึงทั้งสองเพศมีลักษณะแตกต่างกันชัดเจน

ตำลึง เพศผู้ทำให้ท้องร่วงท้องเสียนั้น ตามข้อเท็จจริงแล้วเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดโดยสิ้นเชิง เพราะต้นเหตุแท้จริงของอาการท้องเสีย เกิดจากการทานใบของพืชที่มีชื่อว่า “ตำลึงตัวผู้” ซึ่งเป็นพืชคนละชนิดกับ “ตำลึง”ที่เราพูดถึงกันอยู่ พืชที่ชื่อ”ตำลึงตัวผู้” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า SOLENA AMPLEXICAULIS เป็นพืชที่มีหัวอยู่ใต้ดิน ส่วน”ตำลึง” ผักพื้นบ้านนั้น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า COCCINIA GRANDIS เป็นพืชที่ไม่มีหัว เพียงแต่พืชทั้งสองชนิดนี้อยู่ในวงศ์เดียวกัน จึงมีลักษณะหลายๆ อย่างคล้ายคลึงกันมากทั้งลักษณะ ใบ ดอกและผล แต่ส่วนที่มันแตกต่างกันชัดเจนคือ หัวที่อยู่ใต้ดินซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นเพื่อแยกความแตกต่างได้เลย

ตำลึงผักพื้นบ้านเป็นพืชไม่สมบูรณ์เพศ คือมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย แยกเพศกันอยู่คนละดอก บางต้นพบทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ในต้นเดียวกัน บางต้นพบแต่ดอกเพศผู้ บางต้นพบแต่ดอกเพศเมีย ถ้าเป็น“ดอกเพศเมีย”ที่ก้านดอกจะมีกระเปาะรังไข่บ่งบอกว่าเป็นเพศเมีย ส่วน“ดอกเพศผู้”จะไม่มีกระเปาะ ดังนั้นการแยกเพศว่าตำลึงต้นไหนเป็นเพศใดต้องดูจากดอกเท่านั้น

ส่วนเรื่องลักษณะใบตำลึง ที่เข้าใจว่าใบเว้าเป็นใบเพศผู้และใบเต็มเป็นใบเพศเมียเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดเพราะในตำลึงต้นเดียวกันนั้นไม่ว่าจะเป็นเพศใด ต่างก็มีทั้งใบเว้าและใบเต็มอยู่ในต้นเดียวกันได้ และลักษณะใบไม่ใช่สิ่งบ่งบอกเพศของตำลึง โดยที่แพทย์ท่านนั้นไม่ได้กล่าวถึงพืชอีกชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า “ตำลึงตัวผู้” ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook