สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ต้นตะโก ไม้นานาประโยชน์

ต้นตะโก เป็นไม้ยืนต้นในไทยอีกหนึ่งชนิด ที่มีประโยชน์มากมายหลากหลายอย่าง โดยผลของต้นตะโกสามารถนำมารับประทานได้ มีรสชาติฝาดอมหวานกำลังดี หากเป็นผลที่นำมารับประทานกันก็จะเป็นตะโกผลสุกนั้นเองครับ ส่วนผลดิบและผลแก่ของต้นตะโก จะนิยมนำไปใช้เป็นสีย้อมผ้า นอกจากนี้แล้วไม้ของต้นตะโกยังให้ประโยชน์กับผู้ปลูกอีกด้วย เพราะไม้ตะโกเป็นไม้อ่อนที่สามารถดัดได้ง่าย เกษตรกรบางรายที่ปลูกต้นตะโก หรือ พบเจอต้นตะโกตามป่าเบญจพรรณ ก็มักจะนำไม้ของต้นตะโก มาทำเป็นไม้ค้ำยันประดับตกแต่งสวนต่างๆ ทั้งยังสามารถนำไม้ของตะโกมาแปรรูปเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆได้อีกด้วย หากใครอยากปลูกไม้ไทยที่มีมานาน เพื่อนำไม้มาใช้เป็นไม้ค้ำยัน ทั้งยังสามารถบริโภคผลตะโกที่มีรสชาติหวานอมฝาดได้อีกด้วย ก็สามารถหาเมล็ดพันธุ์ของต้นตะโกมาเพาะพันธุ์กันได้ แม้ต้นตะโกจะเป็นพืชพรรณที่ไม่ได้นิยมปลูกกันมากนัก แต่หากปลูกไว้แล้วก็สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายเลยล่ะครับ

ต้นตะโก แต่เดิมมีถิ่นกำเนิดมาจาก ประเทศอินเดีย ศรีลังกา ถือเป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย ก่อนที่จะค่อยๆมีการปลูกแพร่หลายมายังประเทศ พม่า อินโดนีเซียและประเทศไทย ต้นตะโกจึงเป็นไม้ยืนต้นที่สามารถทนต่อสภาพอากาศแล้งได้ดี แถมยังสามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิดอีกด้วย อาศัยการดูแลไม่มาก ก็สามารถปลูกต้นตะโกได้อย่างง่ายดายแล้วล่ะครับ แถมยังเป็นพืชไม้ที่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรช่วยบำรุงร่างกาย รักษาโรคภัยได้อย่างมากมายอีกด้วยล่ะ

ลักษณะของต้นตะโก ต้นตะโกเป็นพืชไม้ยืนต้นสูงประมาณ 8-15 เมตร มีเนื้อไม้ดำเหมือนตอตะโก จึงเป็นที่มาของชื่อต้นตะโก ใบมีลักษณะคล้ายไข่ใบสลับไปมาทั้งสองกิ่งก้าน ดอกจะออกบริเวณซอกกิ่ง ให้ผลสีแดงอมน้ำตาล เมื่อสุกจะมีสีส้มอมเหลือง ผลสุกทานได้ให้รสชาติหวานอมฝาก

การปลูกต้นตะโก แม้จะไม่เป็นที่นิยมมากนักแต่ก็สามารถปลูกได้ ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และการปักชำกิ่ง รวมทั้งการตอนกิ่ง แต่วิธีที่นิยมใช้กันและทำให้ได้ต้นตะโกมีคุณภาพ ก็คือ วิธีการเพาะเมล็ด โดยเริ่มจากการเตรียมดิน นำดินร่วนปนทรายตากแดดไว้เป็นเวลา 7-10 วัน จากนั้นก็นำดินมาใส่ไว้ในกระถางเพาะเมล็ด เตรียมเมล็ดของต้นตะโก นำเมล็ดหยอดหลงหลุมจากนั้นก็กลบดินให้เรียบร้อย รดน้ำให้ชุ่ม วิธีการดูแลไม่มากนักเพียงแค่ให้น้ำทุกวัน ใส่ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมักเล็กน้อย ก็สามารถรอให้กล้าแตกหน่อได้แล้วล่ะ เมื่อกล้าต้นตะโกแตกหน่อ ก็ให้เพื่อนๆเตรียมดินไว้ โดยขุดหลุมให้มีขนาด 50x50x50 เซนติเมตร เพียงเท่านี้ก็สามารถย้ายกล้าต้นตะโกลงหลุมปลูกกันได้เลย จากนั้นก็ทำการรดน้ำให้ชุ่ม วิธีการดูแลก็หมั่นรดน้ำ ใส่ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมัก โดยปีหนึ่งอาจจะใส่ปุ๋ยบำรุงต้นประมาณ 4-6 ครั้ง เพียงเท่านี้เพื่อนๆเกษตรกรก็จะได้ต้นตะโก ปลูกไว้บริโภคผล หรือ น้ำไม้ไปบริโถคกันได้แล้วล่ะครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook