สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ต้นฝอยทอง พืชกาฝากชื่อน่ารับประทาน

เมื่อพูดถึงฝอยทองแล้วหลายๆ คนก็คงจะนึกถึง ขนมฝอยทองที่มีสีเหลืองอร่ามและมีรสชาติหวานหอมอร่อยกันใช่ไหมล่ะครับ แต่ฝอยทองที่จะพูดถึงในที่นี้นั้น คือ ต้นพืชชนิดหนึ่งที่มีสีคล้ายกับขนมฝอยทอง มีลักษณะลำต้นเล็กเป็นเส้นๆ อันเป็นที่มาของชื่อต้นไม้ชนิดนี้ ที่มักจะขึ้นในพื้นที่เขตร้อนชื้น มีลักษณะเป็นต้นกาฝากอิงอาศัยกับพืชชนิดอื่นเพื่อดูดน้ำเลี้ยงภายในต้นไม้เหล่านั้น โดยเราสามารถพบเห็นต้นฝอยทองได้ในทุกภาคของบ้านเรา เพราะเป็นต้นไม้ที่สามารถแพร่พันธุ์ได้ง่าย สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และยังสามารถแตกแขนงรากออกจากลำต้นที่ไม่มีรากอยู่ เพื่อที่จะเกาะเกี่ยวต้นไม้ต้นอื่นได้อีกด้วย

ต้นฝอยทองนั้นเป็นพืชที่มีใบขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้  มีดอกสีขาวงอกเป็นกระจุกหลายดอก แพร่พันธุ์ด้วยเมล็ดและกิ่งรวมทั้งลำต้น ซึ่งสามารถงอกรากใหม่ได้ แต่เป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุอยู่ได้เพียงแค่หนึ่งปีเท่านั้น แม้ว่าต้นฝอยทองนั้นเป็นพืชที่สร้างปัญหาให้แก่เพื่อนๆ เกษตรกรที่ปลูกพืชชนิดต่างๆ ที่คอยแอบอิงหรือดูดกินแย่งอาหารของต้นไม้ที่เราเพาะปลูกจนทำให้ได้ผลผลิตไม่เป็นที่น่าพอใจ หรือ ทำให้ต้นไม้ที่ปลูกไม่เจริญเติบโตหรือเจริญเติบโตช้าลง แต่ถึงอย่างนั้นแล้ว ต้นฝอยทองก็มีประโยชน์ โดยสามารถนำต้นมาปรุงเป็นอาหารได้ ไม่ว่าจะนำมาลวกทานกับน้ำพริกต่างๆ หรือนำไปใช้ต้มเป็นยาบำรุงร่างกายได้อีกด้วย รวมทั้งเมล็ดของต้นฝอยทองนั้นยังมีสรรพคุณทางยา จึงนำเมล็ดไปแปรรูปเป็นยาสมุนไพรได้ ซึ่งปกติแล้วจะไม่มีการปลูกต้นฝอยทองเพราะสามารถพบเจอได้ง่ายทั้งยังแพร่พันธุ์ได้ตามธรรมชาติได้ดีอีกด้วยครับ

การกำจัดต้นฝอยทองส่วนใหญ่ เบื้องต้นคือการถอนทิ้งหรือนำไปประกอบเป็นอาหาร หรือ เก็บเมล็ดไปขายตามท้องตลาด อีกวิธีที่สามารถป้องกันวัชพืชชนิดนี้ก่อนปลูกพืชชนิดอื่น คือ ควรไถพรวนดินและตากแดดไว้ก่อนปลูกพืชเพื่อไม่ให้มีวัชพืชอย่างต้นฝอยทองมาเจริญเติบโตอยู่ได้ครับ และยังถือเป็นการป้องกันศัตรูพืชอย่างอื่นไม่ให้มาทำร้ายพืชที่จะเพาะปลูกได้อีกด้วย หรือจะใช้วิธีฉีดด้วยสเปรย์จากน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ โดยพ่นลงบนบริเวณที่ต้นฝอยทองอาศัยอยู่ โดนให้ถอนต้นฝอยทองที่พันอยู่ก่อน แล้วจึงฉีดสเปรย์แอปเปิ้ลไรเดอร์ ส่วนวิธีราดน้ำร้อนนั้นไม่ขอแนะนำเพราะอาจทำให้ต้นไม้ที่เพาะปลูกเหี่ยวเฉาลงได้ ดังนั้นให้เราถอนจากต้นที่อิงอาศัยนำต้นฝอยทองมาใช้ประโยชน์ก่อนแล้วจึงกำจัดด้วยการฉีดพ่นชีวภัณฑ์ลงบนต้นไม้หลักอีกครั้งครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook