สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ต้นมะค่าโมง

มะค่าโมง เป็นต้นไม้ ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบมากในป่าผลัดใบในประเทศไทย เวียดนาม กัมพูชา ลาวและพม่า ไม้เนื้อแข็ง เนื้อไม้สีสวย แข็งแรงทนทาน  ไม้มีลวดลายสวยงามมีสีน้ำตาลอมแดง นิยมใช้แปรรูปเป็นไม้แผ่นปูพื้น ไม้วงกบ เสาบ้าน และไม้ชายคาสำหรับก่อสร้างบ้านและเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ รวมทั้งนำมาใช้ในงานแกะสลัก ทำเป็นเครื่องไม้สำหรับประดับและเครื่องดนตรี จัดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ที่ก่อนจะทำการใดกับไม้ชนิดนี้จะต้องได้รับอนุญาตจากทางการแล้วเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการตัด ฟัน ขุด ถอน โค่น แม้ว่าจะอยู่ในพื้นที่ของตนเองก็ตาม ไม้ชนิดนี้ส่วนใหญ่กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในป่าผลัดใบผสม เป็นป่าที่โปร่ง มักเป็นดินร่วนปนทราย พื้นที่ที่ค่อนข้างชุมชื้น เช่นบริเวณริมห้วย เป็นต้น เป็นป่าที่ไม้ทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่เจริญเติบโตได้ดี แต่เมื่อถึงฤดูแล้งจะผลัดใบจนร่วงเกือบหมด โดยยังไม่ปรากฏพบในป่าดิบแล้งทางภาคใต้ของประเทศ

ต้นมะค่าโมง เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ ที่สามารถเติบโตจนมีความสูงได้ถึง 30 เมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2 เมตร แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะสูงราว 15-20 เมตร เรือนยอดทรงพุ่มหนาแน่น ให้ร่มเงาได้อย่างกว้างขวาง สีเปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาลอมชมพู  แตกใบเรียงสลับยาว 18-29 เซนติเมตร ก้านช่อใบสั้นมาก บนแกนช่อใบมีใบย่อยรูปไข่ขอบขนานขึ้นตรงกันข้าม 3-5 คู่ มีขนาดความยาว 2-5 เซนติเมตร ยาว 4- 9 เซนติเมตร ปลายใบแหลมกว่าโคนใบ ผลดอกแตกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง ให้ผลเป็นลักษณะฝักแบนสั้น ฝักจะแตกออกเป็น 2 ซีกเมื่อแก่จัด ด้านในมีเมล็ดสีดำ

การขยายพันธุ์มักขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ควรเพาะในดินร่วนปนทราย โดยต้องเตรียมดินด้วยการไถพรวนให้ดินร่วนซุย เมื่อเมล็ดงอกจึงย้ายลงถุงพลาสติกดูแลให้ดีรอจนต้นกล้าตั้งตรงมีอายุราว 8 เดือน จึงย้ายลงแปลงปลูกต่อไป โดยให้เริ่มปลูกในช่วงปลายพฤษภาคมที่ฝนเริ่มตกมาบ้างแล้ว เผื่อให้ต้นไม้เติบโตได้เต็มที่ มีรากที่สมบูรณ์ หากบำรุงดีต้นไม้จะเติบโตได้ถึง 2-3 เมตรภายในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งแม้ว่าจะเป็นไม้ที่เติบโตช้า แต่เมื่อเลี้ยงดูอย่างดีราว 25-30 ปีก็ตัดไปใช้ประโยชน์ในงานก่อสร้างและขายเป็นไม้แปรรูปได้ราคาดีไม่น้อยเลยครับ

ศัตรูพืชที่เราต้องหมั่นตรวจตรา คือ กลุ่มแมลงปีกแข็งและสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ชอบมาแทะราก ซึ่งหากเรารับมือไม่ทันอาจจะทำให้ไม้ล้มตายได้  ดังนั้นเมื่อสังเกตพบบาดแผลบริเวณโคนต้นหรือส่วนใดๆ ของต้นมะค่าโมงให้เร่งติดตามหาแมลงและกำจัดออกไปจากต้นพืชให้เร็วที่สุด

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook