สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ต้นยางนา ไม้ยืนต้นที่น่าสนใจ

ต้นยางนา เป็นต้นไม้สูงใหญ่ที่พบมากในประเทศไทย ลาว กัมพูชามีชื่อเรียกหลายชื่อตามพื้นบ้าน โดยมักจะพบเห็นต้นยางนาในธรรมชาติได้จากบริเวณริมแม่น้ำ หรือ ริมลำธารต่างๆ มักจะพบอยู่มากในป่าดิบชื้นซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มาก ต้นยางนาเป็นไม้ที่มีเนื้อไม้แข็ง รองลงมาจากไม้สักที่มักจะนิยมนำไปใช้สร้างบ้านเรือน หรือ ที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ต้นยางนายังใช้เป็นต้นไม้ไว้เพาะเชื้อราประเภทเห็ดได้อีกด้วย ที่สำคัญต้นยางนายังเป็นต้นไม้ที่มีน้ำมันอยู่ภายในต้น จึงถือเป็นต้นไม้อีกหนึ่งชนิดที่สามารถนำไปผลิตน้ำมันไบโอดีเซลและทำเป็นเชื้อเพลิงได้ เมื่อต้นมีอายุ 15-20 ปีขึ้นไป และยังได้รับการยอมรับว่าสามารถการสกัดน้ำมันจากต้นยางนาด้วยกระบวนการที่ไม่ยุ่งยาก จึงกลายเป็นที่นิยมของผู้ผลติเชื้อเพลิงในการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตในอุตสาหกรรมน้ำมันและเชื้อเพลิง จึงทำให้ต้นยางนามีจำนวนลดน้อยลง และมีปริมาณไม่เพียงพอกับอุตสาหกรรมกลางน้ำและปลายน้ำที่ต้องการไม้ชนิดนี้เพิ่มขึ้นอย่างมากและต่อเนื่อง ดังนั้นจึงมีเกิดโครงการอนุรักษ์ต้นยางนา และรณรงค์ส่งเสริมให้ปลูกต้นยางนาเพิ่มเพื่อในอนาคตสามารถเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกอีกด้านหนึ่ง

ต้นยางนา เป็นไม้ยืนต้นสูงใหญ่ โดยสูงประมาณ 40-50 เมตร ส่วนของลำต้นจะตั้งตรง มีเปลือกเรียบและหนาแข็งแรง เปลือกมีสีน้ำตาลอมเทาปนขาวเล็กน้อย โคนต้นมีลักษณะเป็นพูพอนสูง เมื่อต้นยางนามีอายุมากจะมีเส้นรอบวงต้นประมาณ 4-7 เมตร ใบเรียวรี โคนใบมน ปลายใบแหลมนิดหน่อย ใบมีสีเขียว ใบอ่อนจะมีขนสีเทาปกคลุมเล็กน้อย มีดอกสีชมพูเป็นช่อเล็กๆ ผลยางนามีปีกงอกออกมาสีน้ำตาลคล้ายผลของยางชนิดอื่น

การปลูกยางนานั้น เราสามารถนำกล้ามาเพาะลงในแปลงปลูกได้เลยทันที โดยเตรียมแปลงปลูก นำดินตากแดดไว้เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์เพื่อกำจัดวัชพืชในดิน ให้ขุดหลุมมีความลึกความกว้างและความยาวขนาด 1x1x1 ฟุต จากนั้นให้ นำปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมัก 1 กำมือ มาโรยใส่ในดินที่ขุดประมาณ 1 หน้าจอบคลุกเคล้าให้เข้ากัน และให้นำต้นกล้ายางนาลงหลุมปลูก หากต้นกล้าอยู่ในถุงเพาะชำถุงดำ ก่อนลงปลูกให้นำต้นกล้าไปแช่น้ำก่อนประมาณ 5 วินาที จึงนำต้นกล้าออกจากถุงดำ จากนั้นก็นำกล้ายางนาลงปลูก รดน้ำแต่ไม่จำเป็นต้องให้น้ำต้นยางนามาก เพราะต้นยางนาถือเป็นต้นไม้ที่สามารถทนความแล้งได้ดี จึงไม่จำเป็นต้องรดน้ำบ่อย สามารถปล่อยให้เจริญเติบโตได้เองตามธรรมชาติได้เลย

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook