สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ต้นยางอินเดีย ต้นไม้ฟอกอากาศ

ต้นยางอินเดีย ต้นไม้ที่ถูกส่งผ่านความเชื่อกันมาช้านานว่าเป็นไม้ต้องห้ามในการปลูกไว้ภายในรั้วบ้าน ถือว่าเป็นต้นไม้แห่งความตาย ตามความเชื่อที่ว่า ในการทำพวงหรีดที่ใช้ในงานศพนั้น มักจะนำใบยางอินเดียซึ่งมีความแข็งแรงและทนทานไปใช้เป็นวัสดุในการประดิษฐ์พวงหรีด จึงกลายเป็นความเชื่อว่าต้นยาอินเดียเป็นต้นไม้แห่งงานศพ ทั้งที่ในแง่ของพฤกษศาสตร์และภูมิสถาปัตยกรรม อาจจะมีกุศโลบายเพียงว่า ไม่ควรปลูกไว้ใกล้บ้านหรืออาคาร เพราะต้นยางอินเดียมีรากห้อยย้อยจากลำต้นลงดิน ที่แผ่เร็วและไกล ซึ่งเมื่อแผ่ไปจนถึงฐานรากของอาคารจะสร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนได้

แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป คนเราเข้าใจถึงตรรกะต่างๆ มากขึ้น ต้นยางอินเดียจึงกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง ด้วยคุณลักษณะพิเศษที่คนเมืองต้องการ นอกจากรูปทรงที่สวยงาม เลี้ยงง่ายแล้ว ยังนับเป็นตันไม้ฟอกอากาศและดักจับฝุ่นได้ดี ที่ตอบโจทย์ชีวิตคนเมืองในปัจจุบันที่พบเจอกับละอองฝุ่นและมลพิษทางอากาศเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดช่องทางการทำการเกษตรโดยการปลูกเพาะพันธุ์ต้นยางอินเดียขนาดกะทัดรัดไว้เป็นไม้ประดับในอาคาร และมีการปลูกต้นขนาดใหญ่ไว้สำหรับการประดับสวน ส่วนการปลูกเพื่อตัดใบขายสำหรับการนำไปทำพวงหรีดก็ถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สร้างรายได้ได้อย่างต่อเนื่องเลยครับ

ต้นยางอินเดียตามธรรมชาติจะเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงถึง 25-30 เมตร แต่บางพันธุ์จะมีลักษณะเป็นไม้เลื้อยหรือไม้พุ่มได้ มีใบเขียวเข้มตลอดปี ไม่มีการผลัดใบ เปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาลแก่ ทุกส่วนของต้นพืชชนิดนี้จะมีน้ำยางสีขาวข้นอยู่ภายใน เมื่อเกิดรอยกรีดน้ำยางจะไหลออกมาภายนอก ทำให้เกิดเป็นก้อนยางหลังจากที่เกิดการแข็งตัว คนโบราณจะนำยางที่เกาะอยู่ตามส่วนต่างๆ มาใช้ลบข้อความที่เขียนโดยดินสอ จนเด็กๆ ในยุคอดีตเรียกชื่อต้นนี้ว่าต้นยางลบ ใบของต้นยางอินเดียมี 2 สี คือสีเขียวเข้มและสีเขียวด่าง ส่วนขนาดของใบนั้นแตกต่างกันไปตามพันธุ์ ใบมีความเงาวาว แข็งแรง ไม่เหี่ยวง่ายและไม่ร่วงหล่นง่ายจึงถูกนำไปใช้ประดิษฐ์เป็นพวงหรีด ปลายยอดจะแตกยอดอ่อนสีแดงเรื่อ ม้วนกลม ก่อนที่จะค่อยๆ คลี่ออกมาเป็นสีแดงอมน้ำตาลและเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้มในที่สุด มีดอกสีขาวขนาดใหญ่ และให้ผลรูปทรงกลมรีสีเขียว

การปลูกต้นยางอินเดียนั้น ควรปลูกในดินร่วนผสมดินทราย เพื่อระบายน้ำได้ดี จะปลูกโดยการปักชำหรือตอนกิ่งก็ได้ เมื่อปลูกแล้วรากงอกได้ดีก็นำไปประดับอาคารเพื่อช่วยฟอกอากาศได้ครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook