สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ต้นสัก ไม้ยืนต้นที่มีลายไม้สวยงาม

ต้นสัก เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีอายุยืน มีลายไม้ที่สวยงาม มีความแข็งแรงทนทานสูง ในบ้านเรามีการนำไม้สักมาแปรรูป สร้างบ้านเรือนตั้งแต่สมัยโบราณ ยิ่งเป็นต้นสักทองก็ยิ่งให้สีไม้ที่สวยมีเปลือกไม้สีออกน้ำตาลผ่องอมทองสมดั่งชื่อ หลายคนอาจเข้าใจว่าไม้สัก คือ ไม้เนื้อแข็ง แต่จริงๆแล้วไม้สักคือไม้เนื้ออ่อน ที่มีความทนทานมากกว่าไม้เนื้อแข็งบางชนิด ในปัจจุบันไม้สักเป็นไม้ที่หายาก เพราะมีระยะเวลาการปลูกที่ใช้เวลานาน หาได้ยากในป่าธรรมชาติ ไม้สักได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายจึงไม่อาจตัดนำขนย้ายออกมาทำประโยชน์ หรือ นำไปขายได้เช่นในอดีต จึงทำให้ในปัจจุบันไม้สักเป็นไม้ที่หายาก มีราคาแพงเป็นอย่างมาก

ต้นสัก เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีลำต้นตั้งตรงเป็นเปลา ผิวลำต้นแตกเป็นทางเดียวกับลำต้น มีลักษณะสีเทาอมน้ำตาล หากเป็นไม้สักทอง ก็จะมีสีน้ำตาลผ่องอมทอง เนื้อไม้มีลายชัด ออกใบลักษณะทรงพุ่ม ใบมีขนาดใหญ่ความยาวและความกว้างของใบมีขนาดเท่ากัน สีใบมีสีเขียวเข้มเมื่อขยี้แล้วจะมีสีแดง มีขนปกคลุมบริเวณใบเล็กน้อย

การปลูกไม้สักสามารถทำได้หลายวิธี โดยปลูกได้ตั้งแต่วิธีเพาะเมล็ด และวิธีแยกเหง้า แต่ส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีการแยกเหง้าเพื่อที่จะนำไปปักชำในดิน วิธีแยกเหง้านี้สามารถเลือกต้นแม่พันธุ์ได้ และยังมีโอกาสรอดกว่าการเพาะเมล็ดอีกด้วย ส่วนวิธีการเพาะเมล็ด จะนำเมล็ดแก่ของต้นสักมาเพาะลงในแปลง หรือ ใครจะเพาะเมล็ดต้นสักลงในกระบะเพาะก็ได้ หากเพาะลงในแปลงแปลงควรมีขนาด 1×20 เมตร ไถดินยกสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร จากนั้นก็ทำการปรับผิวดินให้เรียบ หากดินมีความอุดมสมบูรณ์ไม่มากนักก็ให้ทำการใส่ปุ๋ยคอกเก่าลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นหว่านเมล็ด หรือ หยอดเมล็ด เว้นระยะการหยอดเมล็ดประมาณ 25×26 เซนติเมตร โดยไม่ต้องขุดดินสามารถกดเมล็ดลงหลุมได้เลย รดน้ำให้ชุ่มรอเวลา ใช้เวลาประมาณ 30 วันเมล็ดจะงอก และระยะเวลาประมาณ 8-10 เดือนต้นกล้าจะมีรากงอกก็ให้ทำการรดน้ำและถอนต้นกล้าออกจากแปลง นำมีดสะอาดมาตัดรากฝอยออกและตัดบริเวณปลายรากแก้วออกด้วย ส่วนที่ได้นี้จะเรียกว่าเหง้า นำเหง้าไปลงดินปลูกได้เลย โดยขุดหลุมลึกประมาณ 20 เซนติเมตรและเว้นระยะห่างประมาณ 2×4 เมตร รดน้ำให้ชุ่มพอสมควร เพียงเท่านี้รอเวลา 10-15 ปี ต้นสักของเราก็จะเจริญเติบโตให้ร่มเงาเป็นต้นไม้หายาก เป็นไม้มงคลครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook