สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ต้นส้มกุ้ง หรือต้นส้มกุ่ย

ส้มกุ้ง หรือบางครั้งก็เรียกว่า ส้มกุ่ย บางพื้นที่เรียกว่า องุ่นป่า บักอีโก่ย เถาเปรี้ยว เถาวัลย์ขน (ราชบุรี) แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เป็นไม้เลื้อยในวงศ์องุ่น มีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรอินโดจีน แพร่กระจายพันธุ์ไปยังประเทศมาเลเซีย ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา ประเทศเวียดนามและประเทศลาว พบได้ตามป่าละเมาะและป่าเบญจพรรณ เป็นไม้ป่าที่เกิดเองตามธรรมชาติ ชอบขึ้นบริเวณที่มีลำน้ำไหลผ่าน ยังไม่เป็นที่นิยมในการนำผลผลิตและส่วนต่างๆ ของต้นมาใช้เชิงการค้า ทำให้ไม่เป็นที่รู้จักมากนักและไม่นิยมนำมาขยายพันธุ์ ทำให้กลายเป็นไม้หายาก และเยาวชนรุ่นใหม่ไม่รู้จักไม้ชนิดนี้

สำหรับการนำมาใช้ประโยชน์นั้น พบว่าในหลายพื้นที่นำส่วนต่างๆ ของต้นส้มกุ้งมาใช้เป็นสมุนไพร ยกตัวอย่างเช่น ในตำรายาพื้นบ้านของประเทศเวียดนาม ได้นำรากมาใช้เป็นสมุนไพรบำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ส่วนในไทยนั้น นำส่วนของใบมาบรรเทาอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะโรคหอบหืด เถาวัลย์นำมาใช้เป็นยาแก้ไอและยาระบาย เปลือกไม้ถูกนำมาใช้เพื่อขับน้ำลดการบวม ส่วนการนำมาปรุงเป็นอาหารนั้น ส้มกุ้งเป็นผลไม้มีรสเปรี้ยวอมหวาน นิยมนำมารับประทานกับพริกเกลือ นำมาส่วนประกอบของอาหารเมนูอื่นๆ เพื่อเติมรสเปรี้ยวแก่อาหาร บ้างก็นำมาดองน้ำผึ้งเพื่อใช้เป็นอาหารชูกำลัง

ต้นส้มกุ้งเป็นพุ่มขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ เถาวัลย์จะเลื้อยไปอิงอาศัยกับไม้หลักขนาดใหญ่ในบริเวณใกล้เคียงกลมกลืนกลายเป็นต้นเดียวกัน มีมือเกาะบางๆ งอกจากปล้องอีกฝั่งของใบ เถาวัลย์มีข้อเป็นปล้องๆ มีขนบางๆ ตามยอดอ่อน เมื่อเถาแก่จะมีเนื้อไม้ที่แข็ง มีร่องแตกขรุขระ ลักษณะของใบมีรูปทรงเว้ามีหยักคล้ายรูปใบโพธิ์ ปลายใบมีทั้งแบบกลมและแหลม ขอบใบเป็นคลื่น แผ่นใบเรียบมัน ท้องใบและก้านใบมีขนอ่อนๆ ปกคลุม แต่ดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนหลายดอก ทำให้ความยาวของช่อดอกยาวถึง 8 เซนติเมตร ดอกมีสีชมพูเรื่อกลางดอกเป็นสีแดงแก่ ผลไม้มีรูปทรงกลมเกลี้ยงขนาด ออกผลเป็นกระจุกเรียงตัวชิดกันเป็นช่อลักษณะเดียวกันกับพวงองุ่น ผลอ่อนมีสีเขียวและจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มเมื่อแก่จัด ด้านในผลมีเมล็ดที่มีเปลือกหุ้มแข็งอยู่ตรงกลาง

ในต่างประเทศได้มีการเพาะพันธุ์ส้มกุ้ง เพื่อนำมาขายเป็นไม้ตกแต่งสวน โดยนิยมนำไปอิงอาศัยกับต้นไม้ใหญ่ ให้ต้นส้มกุ้งค่อยๆ ไต่เลื้อยไปตามลำต้นและพุ่มของต้นไม้ใหญ่ที่ใช้อิงอาศัย โดยการนำเมล็ดมาขยายพันธุ์ สำหรับประเทศไทยเรานั้นหากนำมาเพาะจะใช้เวลา หลังจากการเพาะประมาณ 10-14 วัน ต้นกล้าก็จะเริ่มทอดยอดให้เราได้เห็น เพราะเป็นไม้ที่ติดง่าย เติบโตเร็วและทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook