สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ต้นหมากผู้หมากเมีย กับ 4 วิธีขยายพันธุ์

ต้นหมากผู้หมากเมียเป็นไม้ประดับที่มีสีสันของใบแตกต่างกันไปตามพันธุ์  เหมาะสำหรับการนำไปตกแต่งสวน ทั้งสวนกลางแจ้งและสวนในที่ร่ม โดยถูกจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งของไทย ที่จะนำมาประกอบพิธีต่างๆ และนำมาปลูกในของเขตของบ้าน เพื่อให้เป็นไม้คู่บุญ เสริมความเป็นสิริมงคลของผู้อยู่อาศัยในบ้านเรือนนแห่งนั้น

หมากผู้หมากเมียเป็นพืชที่มีหลากหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์มีจุดเด่นรวมทั้งความสวยงามที่แตกต่างกันไป โดยในบ้านเรานั้นนิยมปลูกต้นหมากผู้หมากเมียหลากหลายสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็น พันธุ์เพชรชมพู เพชรดาราเพชรน้ำหนึ่ง เพชรไพลิน ไปจนถึง ชมพูศรี ชมพูพาน และสไบทอง เป็นต้น โดยกลุ่มผู้นิยมไม้ประดับนั้นอาจจะสะสมแทบครบทุกสายพันธุ์ครับ

ต้นหมากผู้หมากเมียจะมีลักษณะเป็นไม้ทรงพุ่ม และเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีกิ่งก้านสลับกันไปรอบลำต้น เมื่อโตขึ้นลำต้นจะมีสีน้ำตาล และมีใบเป็นรูปหอกยาว ปลายใบเดี่ยวโค้งงอ แตกใบหลากหลายสีสันขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็น สีม่วง สีเขียวอ่อน สีน้ำตาล หรือ มีหลายสีในใบเดียวกัน จึงมักนิยมปลูกไว้เป็นไม้ประดับทั้งในกระถางหรือในแปลง และที่สำคัญต้นหมากผู้หมากเมียนั้นยังสามารถสร้างรายได้ ขายได้ราคาดีทั้งในบ้านเราและสามารถส่งออกต่างประเทศได้อีกด้วยครับ

การขยายพันธุ์ต้นหมากผู้หมากเมียนั้นสามารถทำได้ด้วยกัน 4 วิธี วิธีแรก คือการปักชำ เป็นวิธีที่เริ่มจากการคัดเลือกต้นพันธุ์ที่แข็งแรง โดยเลือกต้นพันธุ์ที่ไม่แก่และอ่อนจนเกินไป ให้สังเกตว่าแม่พันธุ์จะมีกิ่งและเหง้าเป็นจำนวนมาก จากนั้นก็นำมาชำในแปลงเพาะชำหรือในกระถางชำ โดยต้นหมากผู้หมากเมียจะชื่นชอบดินร่วนเป็นดินที่มีความชื้นสูงและไม่มีน้ำมากจนเกินไป วิธีปลูกให้ผสมดินกับอินทรีย์วัตถุต่างๆ ในอัตราส่วนที่เท่ากัน หรือ ในอัตราส่วน 2:1 จากนั้นเมื่อนำกิ่งที่ตอนลงกระถางและกลบดินเรียบร้อยแล้ว ก็ให้นำใบไม้แห้งมาปิดคลุมดิน ทั้งนี้ควรเลือกสถานที่ปลูกหมากผู้หมากเมียไม่ให้โดนแสงแดดตลอดเวลา หรือเลือกปลูกใต้ร่มไม้ใหญ่ เพราะหมากผู้หมากเมียนั้นจะชอบอยู่ในที่ที่มีแสงแดดรำไร ส่วนวิธีการตอนกิ่งก็จะทำคล้ายกันกับวิธีการปักชำและจะงอกจากกิ่งหรือเหง้าที่นำมาปักชำประมาณ 4 สัปดาห์ครับ และวิธีการแยกเหง้าสามารถทำได้โดยนำเหง้าที่อยู่ในรากมาแยกเป็นต้นใหม่ หรือมาแยกปลูกใหม่นั่นเองครับ และอีกหนึ่งวิธีคือการเพาะเมล็ด โดยจะใช้เมล็ดมาเพาะในถุงหรือในกระถางก็ได้ แต่วิธีนี้จะใช้เวลานานกว่าจะทำให้หมากผู้หมากเมียเจริญเติบโต จึงไม่นิยมกันนัก ส่วนวิธีดูแลก็หมั่นรดน้ำวันละ 1 ถึง 2 ครั้งตามสภาวะความชื้นในดินและภูมิอากาศครับ เพียงเท่านี้เราก็จะได้ต้นหมากผู้หมากเมียไว้ประดับบ้าน หรือจะนำไปใส่กระถางแยกขายเป็นไม้ประดับจัดสวน สร้างรายได้ไปอีกทางก็ได้นะครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook