สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ต้นแปะก๊วย ราชาแห่งสมุนไพร

ในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา พืชสมุนไพรจากฝั่งเอเชียที่มีชื่อเสียงและขายดีเป็นอันดับต้นๆ ของฝั่งยุโรปและอเมริกา คือ ต้นแปะก๊วย เพราะได้มีการค้นพบสรรพคุณด้านการรักษาทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องของความสามารถในการช่วยให้ระบบหมุนเวียนเลือดในร่างกายดีขึ้น จนถูกนำมาสกัดเพื่อใช้บำบัดโรคและความเจ็บป่วยต่างๆ อย่างกว้างขวาง และยังเป็นสมุนไพรที่ช่วยชะลอวัย เพราะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และยังกระตุ้นระบบการสืบพันธุ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความเสี่ยงในการเป็นหมันได้ และบังเป็นยาอายุวัฒนะ จนได้ฉายาว่า ราชาแห่งสมุนไพร

ต้นแปะก๊วย ถูกนำใสใช้ในการแพทย์แผนจีนมายาวนาน เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดไม่ใหญ่นัก มีความสูงไม่เกิน 40 เมตร มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี และจีน ก่อนที่จะกระจายพันธุ์ไปทั่วโลกในช่วงศตวรรษที่ 17 เป็นไม้ที่ไม่มีวงศ์ใดที่มีลักษณะเหมือนหรือใกล้เคียงเลย คาดว่าจะเป็นพันธุ์เดียวในวงศ์ที่ยังเหลือรอดมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยคุณสมบัติที่มีลำต้นที่ทนทานแข็งแรงและปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ง่ายนั่นเอง ต้นแปะก๊วยเป็นต้นไม้ที่มีต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย โดยสังเกตได้ที่ดอกของต้นแป๊ะวยตัวผู้จะเป็นพวงแบบช่อทรงกระบอกปลายสอบ ส่วนตัวเมียจะออกดอกเป็นกระจุกปลายกิ่ง

ส่วนที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์เป็นสมุนไพรคือใบและเมล็ด โดยใบแปะก๊วยจะมีการเปลี่ยนสีไปตามสภาพอากาศเริ่มจากสีเขียวอ่อน เขียวแก่ และกลายเป็นสีเหลือง จนผลัดใบในที่สุด ลักษณะของใบจะคล้ายกับพัดโบราณมีขอบใบเว้า กว่าจะให้ผลใช้เวลามากกว่า 20 ปี หากเราปลูกด้วยเมล็ด แต่หากขยายพันธุ์ด้วยการทาบกิ่งจะให้ผลได้เร็วขึ้น ภายใน 6 ปี  และเมื่อออกผลจะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 4 เดือนผลถึงจะสุกและส่งกลิ่นเหม็น

ในตำราแพทย์แผนจีนเชื่อว่า ใบแปะก๊วยมีสรรพคุณในการรักษาอาการเจ็บป่วยของระบบสมองและประสาท และในทางยุโรปและอเมริกาก็ได้มีการสกัดสารออกฤทธิ์สำคัญจากแปะก๊วยเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคสมองและระบบความจำ ที่ได้รับผลลัพธ์เป็นที่พึงพอใจ จนเป็นที่ยอมรับในการนำมาใช้ในเชิงการแพทย์อย่างแพร่หลาย

การเพาะพันธุ์ต้นแปะก๊วยเพื่อเก็บเกี่ยวใบไว้ทำสมุนไพรสารพัดประโยชน์นั้น นิยมขยายพันธุ์ด้วยการทาบกิ่ง เพราะให้ผลผลิตเร็วกว่า และยังได้ต้นตัวเมียที่สามารถเก็บเกี่ยวผลเอาเมล็ดมาใช้ประโยชน์ได้ โดยจะต้องเพาะปลูกในทำเลที่มีความสูงเหนอระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,000 เมตร และมีภูมิอากาศเย็นตลอดทั้งปี ซึ่งอาจไม่เหมาะสมในการปลูกในประเทศร้อนอย่างไทยเรา แม้ว่าจะมีต้นกล้าพันธุ์ขายอยู่มากมาย แต่โอกาสที่จะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตคุ้มค่าการลงทุนอาจจะยังมีไม่มากนัก ดังนั้นเพื่อนๆ เกษตรกรที่สนใจปลูก อาจต้องไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนนะครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook