สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ถั่วพิสตาชิโอ กรอบกรุบเพื่อสุขภาพ

ถั่วพิสตาชิโอ เป็นธัญพืชที่สามารถนำมาปรุงอาหารหรือว่าจะนำมาใช้เป็นขนมขบเคี้ยวก็ได้ทั้งนั้น ด้วยรสชาติที่หวานมันกรอบของตัวเมล็ดถั่วเองและเมื่อถูกนำไปปรุงรสห้ถูกปากกับคนในแต่ละพื้นถิ่น ยิ่งทำให้เคี้ยวกันเพลิน รวมเข้ากับสรรพคุณอีกหลายประการขอถั่วชนิดนี้ จึงกลายเป็นหนึ่งในถั่วยอดนิยมเลยทีเดียวครับ จนประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์ของถั่วพิสตาชิโอนั้น ถึงต้องกลับนำเมล็ดเข้ามาปลูกเพาะพันธุ์ในประเทศของตนเลยทีเดียว จนปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศอันดับที่ 2 ที่ส่งออกถั่วพิสตาชิโอมากที่สุดในโลก ส่วนรายแรกที่ส่งออกมากที่สุดในโลกก็คงจะหนีไม่พ้น ประเทศอิหร่านซึ่งถือเป็นถิ่นกำเนิดของถั่วพิสตาชิโอนั่นเองครับ ซึ่งในอดีตจะนิยมเก็บผลผลิตถั่วพิสตาชิโอกันตามธรรมชาติ แต่เนื่องจากในปัจจุบันนั้นเกิดปัญหาพื้นที่ป่าที่ลดน้อยลง ทำให้เกษตรกรในประเทศอิหร่านต้องหันมาปลูกถั่วพิสตาชิโอกันเอง

ส่วนในประเทศไทยนั้น หากเป็นสมัยก่อนถั่วพิสตาชิโอถือเป็นถั่วที่หายาก ทำให้มีราคาสูงกว่าในปัจจุบัน แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีเพื่อนๆ เกษตรกรในประเทศไทยส่วนน้อยที่ทดลองปลูกถั่วพิสตาชิโอแบบจริงจัง แต่ก็สามารถปลูกถั่วพิสตาชิโอในประเทศไทยได้เพราะเป็นถั่วที่ชอบอยู่ในที่มีอากาศร้อนชื้นสลับกับอากาศหนาวบริเวณพื้นที่สูง เนื่องจากมีคนปลูกน้อยในประเทศไทย หากเพื่อนๆ เกษตรกรท่านใดสนใจที่จะปลูกต้นพิสตาชิโอก็สามารถปลูกได้เลยครับ

ถั่วพิสตาชิโอ เป็นไม้ยืนต้นประเภทถั่วที่ มีลักษณะเป็นถั่วเปลือกแข็ง มีทั้งสีน้ำตาลและสีเขียว แต่ถั่วพิสตาชิโอสีเขียวจะมีประโยชน์มากกว่าสีอื่น ต้นพิสตาชิโอมีใบขนาดเล็กขึ้นสลับกิ่งก้านไปมา ใบไม้ปกคลุมหนา

การปลูกถั่วพิสตาชิโอนั้นมีสองแบบคือการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง แต่ต้นพิสตาชิโอในไทยนั้นหายากจึงนิยมเพาะเมล็ดกันมากว่า โดยเริ่มจากการนำถั่วพิสตาชิโอมาวางไว้ในผ้าและคลุมไว้ให้มิดชิด ก่อนจะนำมาวางไว้ในผ้าให้แช่น้ำในอุณหภูมิห้องปกติ 2 วันก่อน จากนั้นก็นำถั่วพิสตาชิโอวางไว้ในผ้าและห่อไว้ ก่อนนำไปแช่ไว้ในตู้เย็นเป็นเวลา 6 สัปดาห์ เมื่อเอาออกมาแล้วก็ให้ตั้งทิ้งไว้สัก 3 วันเพื่อปรับอุณหภูมิเมล็ด จากนั้นก็เตรียมดินและภาชนะการปลูกให้พร้อม แล้วจึงนำลงปลูกได้เลยครับ เพียงเท่านี้ก็คอยดูแลโรครวมทั้งสภาพอากาศและให้ธาตุอาหาร รอเวลาประมาณ 4-5 ปี ก็เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต และที่แน่ๆ ต้นถั่วชนิดนี้มีอายุยืนนับร้อยปีกันเลยครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook