สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ถั่วแระ สดหรือแช่แข็งก็ได้ราคา

หากพูดถึงถั่วแระหรือถั่วแฮแล้ว เพื่อน ๆ เกษตรกรก็คงจะรู้จักกันดีถึงหน้าตาของถั่วชนิดนี้ ถึงแม้ว่าจะมีชื่อในภาษาไทยที่สั้นไปหน่อยแต่รสชาติและประโยชน์ไม่ได้สั้นเหมือนชื่อแน่นอนครับ  ถ้าพูดถึงถั่วแระ เราส่วนใหญ่มักจะนึกถึงถั่วแระพันธุ์ญี่ปุ่นนั้ ที่มีชื่อว่า เอดามาแมะ ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นนิยมปลูกถั่วแระไว้บริโภคและขาย รวมทั้งการนำไปแปรรูปและนำไปประกอบอาหารเป็นเมนูต่างๆ ส่วนในประเทศไทยนั้นนิยมนำถั่วแระมาต้ม แกะทานเป็นของขบเคี้ยว มีบ้างที่นำไปประกอบอาหารบางเมนู ด้วยรสชาติของถั่วแระที่ให้ความมันและกลิ่นหอมแล้วในบางที่ก็มีการแปรรูปไปเป็นของหวานต่างๆ รวมถึงประโยชน์ด้านโภชนาการของถั่วแระที่มีมาก ไม่ว่าจะเป็นการช่วยลดน้ำหนักได้ หรือใช้บำรุงร่างกายได้ ก็ล้วนแต่เป็นเหตุผลที่ทำให้ชาวบ้านหันมาบริโภคถั่วแระกันมากขึ้นครับ ไม่เพียงเท่านั้นเกษตรกรส่วนใหญ่ก็หันมาให้ความสนใจในการปลูกถั่วแระการมากขึ้นอีกด้วยครับ

ถั่วแระเป็นไม้ยืนต้นมีลักษณะเป็นพุ่มลำต้นขึ้นตรงสูงได้ถึงสามเมตรกว่า ผิวลำต้นมีสีเขียวอ่อน กิ่งเรียวยาวสีเขียวแผ่ออกโดยรอบลำต้น ใบมีลักษณะสีเขียว เรียวขึ้นคล้ายขนนกสามใบต่อกิ่ง ส่วนดอกถั่วแระนั้นจะมีสีแดงเหลือง และผลของถั่วแระจะเป็นฝักแบนมีหลายห้องลักษณะยาวสีเขียวปนม่วงเข้มมีเมล็ดถั่วอยู่หนึ่งเมล็ดต่อหนึ่งห้อง  สีของเมล็ดสีขาว เหลือง แดง เมล็ดมีลักษณะคล้ายถั่วเหลือง เหมาะสำหรับนำไปบริโภคหรือแปรรูป

วิธีการปลูกถั่วแระ เริ่มจากการเตรียมดินไว้ไถ่พรวนจนดินร่วน จากนั้นก็ยกร่องดินเป็นแถว จากนั้นก็ให้ใช้เมล็ด 15-20 เมล็ดต่อไร่ โดยหยอดลงไปในหลุมดิน 4-5 เมล็ด เมื่อต้นถั่วอายุ15-20วันแล้วจึงค่อยใส่ปุ๋ยและกำจัดหญ้า รวมถึงคอยดูพวกวัชพืชต่างๆ แต่ควรรดน้ำสม่ำเสมอทุกวันต้นทุนอยู่ที่ 30,000 บาทโดยประมาณ แต่หากเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เยอะโดยรอระยะเวลา 60-70 วันก็อาจมีรายได้ถึง 100,000 บาท ทั้งนี้ต้องหมั่นดูแลผลผลิตอย่างสม่ำเสมอและหาช่องทางตลาดทำให้ได้พันธุ์ดีก็สามารถหารายได้ได้แล้วครับ

ส่วนอีกวิธีการนึงที่เราควรนำมาใช้เพื่อแปรรูปถั่วแระสดเพื่อเพิ่มราคาขาย ก็คือการนำถั่วแระมาแปรรูป ไม่ว่าจะนำมาต้มแล้วแช่แข็ง เพื่อสามารถเก็บรักษาได้นานขึ้น และทำให้ผู้บริโภคสามารถนำไปรับประทานได้ง่ายขึ้น เพียงนำเข้าไมโครเวฟ ก็ได้ทานถั่วแระต้มอร่อยๆ หรือนำไปปรุงอาหารแทนถั่วลันเตาได้เลยครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook