สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

บวบ ผักพื้นบ้าน นานาประโยชน์

บวบเป็นผักยอดนิยมสำหรับชาวบ้านและเป็นที่โปรดปรานมากๆ สำหรับแม่ครัวแทบทุกบ้าน เพราะนอกจากบวบจะปลูกง่ายแล้ว ยังสามารถนำไปทำอาหารได้หลากหลายเมนูอีกด้วยครับ ไม่ว่าจะเป็นแกงผัดต้มหรือทอด รสชาติก็อร่อยไม่แพ้กันแน่นอนครับ เพื่อนๆ เกษตรกรจึงหันมาปลูกบวบมากขึ้น เพราะนอกจากจะนำมารับประทานได้เองแล้วยังสามารถนำไปขายเป็นช่องทางหารายได้อีกทางหนึ่งได้อีกด้วย ไม่เพียงเท่านี้บวบยังมีประโยชน์ทางด้านโภชนาการสามารถนำไปใช้เป็นยาสมุนไพได้ด้วยครับ ไม่ว่าจะเป็นแก้ปวดหัว เหงื่อออกมากจนเกินไป หรืออาการวิงเวียนต่างๆ แถมในบวบนั้นยังมีสารที่ช่วยให้ร่างกายได้รับประโยชน์ได้อย่างมากมายอีกด้วยครับ

บวบในบ้านเรานั้นจะมีลักษณะเป็นเหลี่ยมตลอดรอบผล และมีขนาดผลยาว ลำต้นเลื้อยไปตามเถาวัลย์หรือเกาะเกี่ยวสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เลื้อยไปตามค้าง จะขึ้นได้ดีในดินที่มีความชื้นพอสมควร ไม่น้อยหรือมากจนเกินไปครับ สามารถเติบโตได้ในทุกสภาพภูมิอากาศครับ

วิธีการปลูกบวบนั้นก็ไม่ยากเหมือนเคยครับ โดยเริ่มจากการเตรียมดินไว้ให้พร้อมด้วยวิธีการใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักลงในดินเพื่อปรับสภาพดินและให้ธาตุอาหารแก่ดิน หากดินมีสภาพเป็นกรดเยอะก็ให้หาปูนขาวใส่ลงไปครับ เพื่อจะปรับความเป็นกรดให้ลดลงและพอดี เมื่อได้ดินตามที่ต้องการแล้วก็ให้เราตากแดดไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นก็สามารถเริ่มทำการปลูกได้เลยครับ

วิธีการปลูกนั้นเพียงแค่หยอดเมล็ดลงไปในหลุมที่ขุด โดยหลุมที่ขุดนั้นจะต้องมีความลึกประมาณ 4 เซนติเมตร เพราะบวบนั้นมีระบบรากที่เยอะและสามารถเจริญเติบโตได้ไว จากนั้นก็หยอดเมล็ดพันธุ์ลงไปประมาณ 3-4 เมล็ดต่อหลุมและจะต้องเว้นระยะห่างระหว่างต้นไว้ไม่ให้ชิดกันจนเกินไป ประมาณ 80 เซนติเมตรระหว่างต้น และ 100 เซนติเมตรระหว่างแถว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคหรือแมลงและกลบด้วยดินที่เตรียมไว้

รอคอยระยะเวลาให้ต้นมีใบงอกขึ้นโดยรอไม่เกิน 2 สัปดาห์ หากต้นไหนอ่อนแอก็สามารถถอนออกได้เลยครับ เมื่อใกล้จะครบ 4 สัปดาห์ แล้วก็ให้ทำคานหรือค้างที่เกาะเกี่ยวให้ต้นบวบได้ โดยอาจจะนำกิ่งไม้ที่มีความยาวพอเหมาะมาปักไว้ใกล้ๆ ลำต้นบวบตลอดทุกต้น หรือทำคานไว้ทีเดียวก็สามารถทำได้ครับ หรือหากมีสิ่งยึดเกี่ยวตามธรรมชาติก็ปล่อยให้ขึ้นเองได้  แต่หากปล่อยให้เลื้อยไปตามดินแล้ว ผลของบวบจะโค้งงอไม่สวยได้ครับทำให้ไม่นิยมในผู้บรืโภคได้ จึงควรดูแลให้ผลผลิตเป็นที่ต้องการในตลาดอยู่เสมอจะดีกว่าครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook