สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ปลาตะเพียน ปลาน้ำจืดแสนอร่อย

ปลาตะเพียน เป็นปลาที่เราคุ้นหูมาตั้งแต่เด็ก เพราะในต่างจังหวัดจะนิยมนำปลาตะเพียนสานมาผูกเหนือเปลนอนเด็กเป็นโมบาย ให้เด็กมองงตาม โดยมีนัยยะหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ เป็นการให้พรเด็กว่า เจ้าจงมั่งคั่งร่ำรวย เป็นการยืนยันว่า เราคนไทยผูกพันกับปลาตะเพียนมายาวนาน

ปลาตะเพียน เป็นปลาน้ำจืด ทำให้เราพบเห็นอยู่ทั่วไป เพราะภูมิประเทศของเราเหมาะแก่การเลี้ยงน้ำจืด แต่ด้วยความต้องการของตลาดที่มีมาก ทำให้ปลาตะเพียนยังมีการผลิตที่ไม่เพียงพอต่อตลาด โดยเฉพาะในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเรา ที่ต้องการปลาตะเพียนมาผลิตเป็นปลาส้มจำนวนมาก แต่กลับไม่ค่อยมีคนเลี้ยงปลาตะเพียน ซึ่งถือว่า อาชีพเกษตรกร ผู้เลี้ยงปลาตะเพียน เป็นอาชีพที่มีอนาคต เพราะเราใช้ตลาดเป็นตัวกำหนดผลิตภัณฑ์

การเลี้ยงปลาตะเพียนขาวเพื่อนำมาแปรรูปเป็นปลาส้ม จะทำให้เพื่อนๆ เกษตรกรได้ประโยชน์ตรงที่ได้ราคาเพิ่มขึ้นและขนส่งหรือจัดส่งได้ลูกค้าได้ง่ายกว่าการขายปลาสดด้วยนะครับ

บ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ต้องเป็นบ่อดินซึ่งสามารถสร้างอาหารธรรมชาติได้ โดยขุดเป็นทรงสี่เหลี่ยมใช้เนื้อที่ 1 ไร่ต่อบ่อ แยกบ่อปลาเพศเมีย ออกจากปลาเพศผู้ ปล่อยพ่อแม่พันธุ์จำนวนเท่ากัน 800 ตัวต่อไร่ ให้อาหารเม็ดและผัก จนกว่าจะถึงอายุ 8 เดือน ระหว่างนั้นก็เปลี่ยนน้ำบ่อยๆ  ราวๆ เดือนกุมภาพันธ์ ก็ต้องเริ่มเช็คความพร้อมของปลาตะเพียนกันนะครับ ก็จะถึงเวลาเพาะพันธุ์ได้แล้วล่ะครับ

ขั้นตอนการอนุบาล ควรปล่อยลูกปลาในบ่อที่มีความลึกของน้ำประมาณ 30-40 ซม. แล้วค่อยๆ เพิ่มระดับน้ำอาทิตย์ละ 10 ซม.เพื่อให้ปรับคุณภาพน้ำ ในบ่อนั้นเราจะปล่อยลูกปลา 1,000-1,500 ตัวต่อตารางเมตรเลยนะครับ พอผ่านไป 5 วัน ก็จะเริ่มลดอาหารไข่ แต่เปลี่ยนไปให้รำบดละเอียดแทน พอผ่านไป 14 วัน ปลาจะเริ่มเติบโตว่ายขึ้นมากินอาหารบนผิวน้ำได้ เราต้องโรยรำจากด้านเหนือลมนะครับ เพราะลมจะพัดผิวน้ำ ทำให้อาหารค่อยๆ ไหลไปครับ ถ้าพบว่าที่ขอบบ่อด้านใต้ลมมีอาหารเกาะขอบ ก็แสดงว่าเราให้อาหารเยอะไปครับ รอบหน้าก็ค่อยๆ ลดจนกว่าจะพอดี

การให้อาหารปลานั้น เราต้องให้เวลาเดียวกันทุกวันครับ และเริ่มให้ในบริเวณเดียวกันด้วย โดยเราจะมีการทำการโรยอาหารวันละ 2 ครั้ง แต่อย่าให้มากเกินไป เพราะอาจทำให้ปลาเป็นโรคได้ โดยโรคของปลาตะเพียนนั้นก็เหมือนปลาน้ำจืดทั่วไปครับ เช่น โรคพยาธิ และโรคติดเชื้อในลูกปลา นอกจากนั้นก็เรื่องของคุณภาพน้ำ และความหนาแน่นในการเลี้ยง และคุณภาพอาหารละครับ เลี้ยง 6 เดือนก็เริ่มนำขึ้นมาทำปลาส้ม ปลาตะเพียน ขายกันได้แล้วครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook