สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ปลาทับทิม ปลามากคุณค่า

ปลาทับทิม เป็นปลาน้ำจืดตัวเอกของไทย ที่คนไทยนิยมชมชอบกันอย่างมาก เพราะมีเนื้อเยอะ ก้างน้อย และยิ่งกระแสรักสุขภาพมาแรง ผู้บริโภคจำนวนมากก็หันมาบริโภคเนื้อปลาที่มีประโยชน์มากขึ้น เพราะปลาเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ มีโอเมก้า-3สูงมาก สามารถปรุงได้หลายเมนู ทั้งทอด นึ่ง ย่าง ต้มยำ และอีกนับไม่ถ้วน ทำให้เป็นที่ต้องการขอตลาดเป็นอย่างมาก

ปลาทับทิมเป็นพันธุ์ปลาที่ได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์มาจากปลานิลจิตรลดา ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานชื่อให้ จนได้ปลาที่มีลักษณะเด่นจนเกิดเป็นสายพันธุ์ชนิดใหม่ว่าปลาทับทิม ซึ่งเป็นปลาที่ให้เนื้อเยอะถึง 40 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปลา ก้างน้อย มีคุณภาพสูง เนื้อนุ่ม มีรสชาติหวาน ไม่มีกลิ่นคาว เลี้ยงง่าย โตไว  เลี้ยงแบบหนาแน่นได้ ทนต่อสภาพน้ำและโรค ยิ่งเลี้ยงในน้ำที่มีความเค็มจะยิ่งโตไว

การเลือกว่าจะเลี้ยงปลาทับทิมในรูปแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับทำเลและทุนนะครับ หากเพื่อนๆ เกษตรกรมีที่ดินเยอะและมีน้ำเพียงพอ เพื่อนๆ อาจใช้การขุดบ่อดินให้เป็นสระลึกประมาณ 2 เมตร กินพื้นที่มากกว่า 1 ไร่ ซึ่งต้องมีการใช้น้ำจำนวนมากในการเลี้ยง หรืออาจจะนำไปเลี้ยงแบบกระชังในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่ลึกมากกว่า 5 เมตร หรือจะนำกระชังไปเลี้ยงในแม่น้ำที่มีน้ำไหลผ่านตลอดช่วงที่เราเลี้ยง และน้ำจะต้องมีค่าความเค็มความจืดคงที่ไม่แปรปรวน ดังนั้นไม่ควรเลี้ยงในบริเวณปากอ่าว เพราะอาจจะมีความเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำได้ หรือถ้าเลี้ยงไม่มากก็ทำบ่อซีเมนต์ครับ ทำโรงเรือนป้องกันน้ำฝนแล้วเอาเครื่องตีออกซิเจนมาช่วย แค่นี้เราก็สามารถเป็นเจ้าของฟาร์มปลาทับทิมได้แล้วครับ

ปัจจุบันนี้ธุรกิจเลี้ยงปลาทับทิมแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือเลี้ยงเพื่อบริโภคและจำหน่าย คือแบ่งไว้บริโภคบางส่วนแล้วที่เหลือก็นำไปขายในตลาด ซึ่งการเลี้ยงในลักษณะนี้จะใช้อาหารง่ายๆ ที่หาได้มาเลี้ยงปลา และปลาจะหากินเศษผักพืชตามธรรมชาติเอง ส่วนการเลี้ยงเชิงการค้านั้น เป็นการเลี้ยงปลาให้ปลามีคุณภาพดี และเติบโตไว จึงมีการใช้อาหารเสริมและอาหารสำเร็จรูปเลี้ยงปลา ทำให้ปลามีขนาดตัวที่ใหญ่ และสุดท้ายคือการเลี้ยงแบบที่เราเป็นลูกฟาร์มของผู้พัฒนาพันธุ์ปลา ที่บริษัทจะนำพันธุ์ปลามาให้เราเลี้ยง และคอยเป็นที่ปรึกษา ดูแลเรื่องยาและโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบ่อ และช่วยแก้ปัญหาได้งานตลอดฤดูกาลเลี้ยง และบริษัทจะรับซื้อผลิตผลทั้งหมดจากบ่อไปทำการตลาดต่อไป แล้วแต่ว่าเพื่อนๆ เกษตรกรจะสะดวกเลี้ยงแบบไหนนะครับ เลี้ยงเพียง 4 เดือนก็ทำเงินได้แล้วครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook