สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ปลานิล ว่าด้วยระบบการเลี้ยงและการเก็บเกี่ยว

ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการพัฒนาการเลี้ยงปลานิลอย่างจริงจังในทุกแขนง ทั้งเรื่องของการเพาะพันธุ์ปลา การเลี้ยงในกระชัง และการเลี้ยงในบ่อ เป็นขั้นเป็นตอนสำหรับเกษตรกรมือใหม่และถึงขั้นก้าวหน้าสำหรับเกษตรกรผู้คร่ำหวอดในธุรกิจเลี้ยงปลานิล เรียกได้ว่าทำได้ทั้งแบบเพื่อยังชีพและแบบทำการค้ากันเลยทีเดียวครับ โดยมีการรวบรวมองค์ความรู้ไว้อย่างชัดเจน ตั้งแต่เรื่องของลักษณะของปลานิล การเตรียมบ่อพ่อแม่พันธุ์ การคัดเลือก การเพาะพันธุ์ ซึ่งเพื่อนๆ สามารถหาข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประมงทุกแห่งครับ

สำหรับบทความนี้เราจะเจาะประเด็นเรื่องของระบบเลี้ยงปลานิลและการเก็บเกี่ยวผลผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งแบ่งออกเป็นการเลี้ยงปลานิลเดี่ยวและการเลี้ยงผลาแบบผสมผสานกับปลาชนิดอื่นหรือสัตว์ชนิดอื่น ซึ่งมีระบบนิเวศที่เอื้อประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตกันได้ เป็นการต่อยอดแนวทางการเลี้ยงแบบดั้งเดิม มาสู่การเลี้ยงปลานิลแบบครบวงจรเพื่อให้สัตว์แต่ละชนิดพึ่งพิงกันได้ แต่เราจะสังเกตได้ว่า หากเลี้ยงแบบเดี่ยวปลานิลจะมีโอกาสรอดสูงมากกว่า 80% แต่การเลี้ยงแบบผสมผสาน แม้ว่าจะมีโอกาสการรอดต่ำกว่าแบบเลี้ยงเดี่ยวเล็กน้อย แต่ก็นับว่าเป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดความเสียหายจากการแพร่ระบาดของโรคในสัตว์แต่ละชนิด

หัวใจหลักของการเลี้ยงปลานิลคือการลดต้นทุนอาหารโดยให้ปลาได้สารอาหารที่ครบถ้วนเพียงพอที่ปลาจะเจริญเติบโตได้อย่างดีและมีคุณภาพ และต้องมีการคำจึงถึงความหนาแน่นและการจัดการบ่อเลี้ยงอย่างดี  ต้องหมั่นทำความสะอาดบ่อปลา แล หากเลี้ยงแบบอินทรีย์ได้จะเป็นผลดีต่อผลผลิต ไม่มีสารตกค้างและยังสามารถหาได้ใกล้ตัวในราคาที่ไม่แพงนัก เช่น ปลายข้าว ปุ๋ยหมัก เป็นต้น และเรายังควรเพิ่มอาหารเสริมจากจุลินทรีย์หน่อกล้วย และใส่ปุ๋ยขี้นกกระทาลงในบ่อเพื่อเป็นการเพิ่มแพลงตอนให้กลายเป็นอาหารโปรตีนสำหรับปลาด้วย

ส่วนการเลี้ยงปลานิลในกระชังนั้นจะต้อระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะต้องหาตำแน่งการวางกระชังที่เหมาะสม ทั้งไม่กีดขวางกระแสน้ำไหลและไม่ให้อยู่ในที่อับเกินไปซึ่งเป็นแหล่งเกิดโรคได้ง่าย หากมีการเลี้ยงที่หนาแน่นมากต้องมีการวางระบบเพิ่มฟองอากาศในน้ำ เพิ่มการหมุนเวียนน้ำในกระชัง และต้องหมั่นทำความสะอาดอวนกระชังทุก 2 สัปดาห์เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่างๆ

ส่วนของการเก็บเกี่ยวผลผลิตนั้น เรานิยมใช้น้ำมันกานพลูเพื่อทำให้ปลาสลบ ไม่ให้ปลาดิ้นและเกิดความบอบช้ำต่อผลผลิต โดยการนำน้ำมันกานพลู 50 มล. รองใต้กระชัง สำหรับปลา 2 ตัน ให้ปลาสลบ 10 นาที แล้วทำการคัดขนาดปลาใส่ตะกร้าก่อนนำไปบรรจุในถังที่มีอ็อกซิเจนเพื่อขนส่งไปยังตลาดต่อไปครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook