สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ปลาบึก ราชินีแห่งลุ่มแม่น้ำโขง

ปลาบึกเป็นปลาไซส์จัมโบ้ มีฉายาว่าราชินีแห่งแม่น้ำโขง เพราะเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงอันกว้างใหญ่ สามารถพบเจอได้ตั้งแต่ประเทศ จีน ไทย ลาว และพม่า โดยปลาบึกนั้นจะชอบอาศัยอยู่ตามแม่น้ำลึก สายใหญ่ที่บริเวณพื้นน้ำมีลักษณะเป็นหินสลับซับซ้อนกัน ยิ่งถ้ามีถ้ำหินด้วยแล้วก็จะเป็นที่โปรดปรานของปลาบึกเป็นอย่างมากครับ ในฤดูวางไข่ปลาบึกมักจะว่ายไปวางไข่จากถิ่นที่อยู่เดิม จึงทำให้พบเจอปลาบึกได้ในแถบประเทศที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน ทำให้ปลาบึกเป็นอาหารที่โปรดปรานในหลายประเทศและยังมีราคาสูงอีกด้วย จนมีการจับปลาบึกไปเป็นอาหารจำนวนมาก จนทำให้ปลาบึกนั้นใกล้จะสูญพันธุ์ ทำให้กรมประมงได้หาวิธีเพาะพันธุ์ปลาบึก เพื่อให้ปลาบึกวางไข่ในจำนวนมากขึ้นและลดอัตราการสูญพันธุ์ จนทำให้การเพาะเลี้ยงปลาบึกกลายเป็นอาชีพใหม่ที่สามารถสร้างรายได้สูง ทั้งเพาะพันธุ์ไว้จะนำไปขายให้ปรุงเป็นอาหาร หรือขายพันธุ์ปลาเพื่อเลี้ยงไว้เป็นปลาสวยงาม

ปลาบึกเป็นปลาตระกูลเดียวกับปลาสวายแต่มีขนาดที่ใหญ่กว่า โดยมีขนาดตัวยาวกว่า 2 เมตรและมีน้ำหนักราว 200 กก.เลยทีเดียวครับ ลูกปลาจะมีสีเทาปนเหลือง แต่ปลาบึกเมื่อโตจะมีสีคล้ำน้ำตาลแดง อาหารของปลาบึกก็คือตะไคร้น้ำครับ

การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาบึกสามารถทำได้ โดยจะใช้วิธีการฉีดผสมเทียม โดยให้เตรียมแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ปลาแล้วใช้เชือกไนล่อนร้อยเข้าทางปากปลาบึกให้ทะลุออกทางเหงือกและผูกกับลำไม้ไผ่ไว้จะช่วยยืดอายุปลาให้ยาวขึ้นและทำให้ปลาไม่จมน้ำ จากนั้นก็ฉีดฮอร์โมนเพื่อผสมเทียม หรือจะใช้วิธีปล่อยให้ผสมพันธุ์ทางธรรมชาติก็ได้ เมื่อไข่กับน้ำเชื้อผสมกันแล้วให้นำเชือกฝางฉีกเป็นฝอยและจุ่มลงไปในไข่ จากนั้นก็ให้นำไข่มาชะล้างโดยใช้น้ำขุ่นตะกอนจากแม่น้ำโขงล้าง และถ้าหากจะลำเลียงไข่เคลื่อนย้ายแล้วให้นำไข่ใส่ในถึงพลาสติกโดยมีระดับน้ำสูงถึง 5 ลิตรและใช้ผืนอวนหรือผักตบชวารองก่อนนำถุงตักไว้เพื่อลำเลียง จากนั้นก็เตรียมบ่อซีเมนต์ไว้ขนาด 5*10 เมตร และใช้วิธีการเตรียมบ่อเหมือนบ่อเลี้ยงปลาทั่วไป จากนั้นก็ให้เพิ่มน้ำโดยมีระดับลึกประมาณ 40 เซนติเมตรก่อนที่จะปล่อยไข่ปลาลงไปเพาะ

การอนุบาลลูกปลาเริ่มแรกก็เริ่มให้อาหารเป็นไรแดง เมื่อได้ 3 วันก็ให้อาหารเป็นจำนวน 8 ครั้ง และเมื่อเวลาผ่านไปก็ให้ลดอาหารเป็นให้วันละ 6 ครั้งจากนั้นหากได้เวลา 6 วันก็ให้ย้ายลูกปลาไปในบ่อดินเพื่อให้ปลาอยู่รอดได้ เพียงเท่านี้ก็สามารถอนุบาลปลาให้โตขึ้นได้แล้วล่ะครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook