สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ปลาแรด ปลาน้ำจืด น่าเลี้ยง

ปลาแรด เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด ชอบแหวกว่ายอยู่ในแม่น้ำลำคลองต่างๆ สามารถพบได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำจืดในประเทศไทย สามารถกินพืชทุกอย่างเป็นอาหาร สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ในบ้านเรานั้นนิยมเลี้ยงปลาแรดไว้บริโภคเนื้อ เพราะเป็นปลาที่มีเนื้อนิ่มแน่น ให้รสชาติดี นิยมนำมาปรุงรสทำอาหารในภัตตาคาร ทำให้ปลาแรดมีราคาสูง แม้แต่ในต่างประเทศเองก็มีการบริโภคเนื้อปลาแรด ทำให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาแรดที่ตลาดส่งออกรองรับในต่างประเทศ ทำให้ได้ราคาดียิ่งขึ้นอีกด้วย

นอกจากนี้แล้วปลาแรดยังถูกเลี้ยงไว้ดูเล่นเป็นปลาสวยงาม นิยมเลี้ยงไว้ในตู้ปลาขนาดกลาง แม้ปลาแรดจะตัวใหญ่แต่ก็สามารถปรับตัวอาศัยอยู่ในตู้ปลาขนาดไม่กว้างมากได้ดี แต่ก็อาจจะทำให้ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของปลาแรดได้ จึงอาจมีการเลี้ยงปลาแรดไว้ดูเล่นในบ่อดินอยู่บ้าง แม้ว่าแต่เดิมปลาแรดมีถิ่นกำเนิดมาจากอินโดนีเซีย แต่ปัจจุบันได้มีการเลี้ยงอย่างแพร่หลายทั้งในไทยและต่างประเทศครับ

ปลาแรดเมื่อเติบโตเต็มที่จะมีน้ำหนักถึง 7 กิโลกรัม มีความยาวของลำตัวถึง 0.65 เมตร บริเวณลำตัวมีเกล็ด มีโหนกนูนคล้ายนอแรด ซึ่งเป็นที่มาของชื่อปลาแรด โดยรวมแล้วปลาแรดทั้งสองเพศแทบจะมีลักษณะไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อเจริญเต็มที่จะสามารถสังเกตเห็นความแตกต่างระหว่างเพศผู้กับเพศเมียได้ โดยปลาแรดตัวผู้จะมีกรามใหญ่กว่าตัวเมีย ส่วนปลาแรดตัวเมียจะมีจุดอยู่บริเวณโคนหาง ซึ่งสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า

การเลี้ยงปลาแรด นิยมเลี้ยงด้วยกันสองแบบ คือ การเลี้ยงในบ่อดินและเลี้ยงในกระชัง หากเป็นการเลี้ยงในบ่อดินแล้ว บ่อที่ใช้เลี้ยงจะมีขนาดตั้งแต่ 1-5 ไร่ เพื่อปล่อยปลา 1 ตัวต่อตารางเมตร บ่อดินจะนิยมปล่อยให้พืชน้ำขึ้นอยู่บ้าง เพื่อใช้เป็นอาหารของปลาแรด โดยจะใช้เวลาเลี้ยงแค่ 1 ปี เมื่อปลาแรดเริ่มโตจะมีน้ำหนักถึง 1 กิโลกรัม และที่สำคัญยังสามารถเลี้ยงปลาแรดกับปลากินพืชบางชนิดได้อีกด้วย

การเลี้ยงในกระชังเป็นการเลี้ยงที่นิยมในไทยเป็นอย่างมาก โดยจะพบเห็นได้ในบ้านเราทั่วไป มีการเปลี่ยนการเลี้ยงในกระชังไม้มาเป็นใช้อวนในปัจจุบัน โดยจะสร้างแพไม้และสร้างหลังคาบังแดดไว้ และเว้นช่องไว้เป็นบ่อตรงกลางเพื่อที่จะผูกกระชังตาข่าย โดยให้กระชังตาข่าย กว้าง 3 วา ยาว 6 วาและลึก 1.8 เมตร โดยสามารถเลี้ยงปลาแรดตัวเล็กขนาด 6 นิ้วได้ถึง 3,000ตัวต่อหนึ่งกระชังเลยล่ะครับ หากใครอยากเลี้ยงปลาแรดก็ลองไปทำตามกันดูได้เลยนะครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook