สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ปั๊มซับเมอร์ส เครื่องสูบน้ำแบบใช้มอเตอร์จุ่มใต้น้ำ

ปั๊มซับเมอร์ส คือ ชื่อที่เรามักได้ยินคนใช้เรียก ปั๊มน้ำบาดาล หรือเครื่องสูบน้ำแบบจุ่ม หรือเครื่องสูบน้ำแบบมอเตอร์จมใต้น้ำ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Submersible pump  ซึ่งเป็นเครื่องจักรกลขนาดเล็กที่ใช้พลังงานจากเครื่องยนต์ มอเตอร์ ดึงดูดของเหลวจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งผ่านระบบท่อ โดยเครื่องสูบน้ำแบบนี้จะใช้มอเตอร์จุ่มใต้น้ำ  โดยสามารถนำมาใช้ได้ทั้งกับน้ำบาดาลและน้ำผิวดิน สำหรับปั๊มที่ใช้สำหรับสูบน้ำบาดาลนั้น จะมีกำลังการส่งน้ำในระดับความลึกที่แตกต่างกันไปตั้งแต่ 10 เมตรไปจนถึงมากกว่า 100 เมตร ขึ้นอยู่กับกำลังของมอเตอร์และใบพัด แต่หากจะใช้สูบน้ำผิวดิน

นอกจากกำลังของเครื่องแล้วสิ่งสำคัญคือการเลือกซื้อเครื่องให้เหมาะสมกับบ่อ และติดตั้งตัวปั๊มซับเมอร์สจะต้องติดตั้งให้ถูกต้องและเหมาะสม เพราะในส่วนของค่าติดตั้งจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงและหากเกิดปัญหาขึ้นจะต้องรื้อออกมาซ่อมหรือติดตั้งใหม่จะใช้เวลาค่อนข้างนาน ดังนั้นก่อนการซื้อและการติดตั้งนั้น เราต้องทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ ชนิดของบ่อบาดาลว่าเป็นบ่อเปิดหรือบ่อปิด ขนาดบ่อกี่นิ้ว บ่อมีความลึกกี่เมตร ท่อกรองน้ำระดับกี่เมตร ระดับน้ำลดกี่เมตรและระดับน้ำคงที่กี่เมตร เมื่อได้ข้อมูลตรงนี้จะทำให้เราหาซื้อเครื่องสูบน้ำได้ถูกต้องเหมาะสมกับบ่อบาดาล โดยหากอยู่พื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงอาจจะต้องศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนของ ปั๊มซับเมอร์ส โซล่าเซลล์ เพิ่มเติมด้วย

เมื่อได้ปั๊มซับเมอร์สตามที่ต้องการแล้วให้เรากำหนดระดับติดตั้งเครื่องสูบน้ำ โดยติดตั้งเหนือบริเวณท่อกรองน้ำมากกว่า 3 เมตร เลี่ยงตะกอนและเศษหินเศษทรายที่จะทำให้มอเตอร์เราเสียหายได้ ตรวจเช็คมอเตอร์ก่อนนำลงไปติดตั้ง หมุนแกนเพลาปั๊มเพื่อเช็คว่าทำงานได้ดีหรือไม่ หากตรวจสอบพร้อมแล้วจึงติดตั้งปั๊มในระดับที่เราวางแผนไว้ ซึ่งควรอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำที่ทำการสูบประมาณ 6 เมตรแต่ไม่ควรลึกเกินไป เมื่อติดตั้งเสร็จให้ทดสอบการทำงานของเครื่องอีกครั้ง

การดูแลรักษาปั๊มซับเมอร์สจะช่วยยืดอายุการทำงานของเครื่องสูบน้ำได้ โดยเฉพาะเมื่อพบว่าประสิทธิภาพการทำงานลดลง เช่น สูบน้ำได้น้อยลงหรือไม่แรง ซึ่งอาจจะเกิดจากมีตะกอนไปอุดตันหรือเกิดจากการสึกหรอของเครื่องจักร บางครั้งอาจจะพบว่าเครื่องสูบน้ำทำงานได้เท่าเดิมแต่กินไฟมากขึ้น ซึ่งอาจจะเกิดจากความเสียหายบางอย่างในอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยวิธีการสังเกตง่ายๆ คือการจดบันทึกข้อมูลไว้หากประสิทธิภาพลดลงมากกว่าร้อยละ 20 จะต้องรีบถอดปั๊มซับเมอร์ส ออกมาซ่อมแซมแก้ปัญหาส่วนที่ชำรุดอย่างทันท่วงทีและไม่ให้เกิดความเสียหายมากเกินไป

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook