สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

การจัดการความรู้การผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อพัฒนาเกษตรกรและเพิ่มคุณภาพการผลิตอย่างยั่งยืน

ประเทศไทยประสบปัญหาผลผลิตข้าวคุณภาพต่ำส่งผลให้ราคาข้าวตกต่ำ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ระบุปัญหาสำคัญ 6 ประการ ได้แก่ ปัญหาการผลิต ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ คุณภาพข้าวไม่ดี พันธุ์ข้าวไม่เหมาะสมกับพื้นที่ ปัญหาการตลาด และปัญหาการบริหารนโยบายของรัฐ ปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพอากาศและการขาดเงินทุนสำหรับเทคโนโลยีที่ให้ผลตอบแทนสูงก็มีบทบาทในปัญหานี้เช่นกัน ส่งผลให้ข้าวไทยสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับประเทศอื่น และชาวนาก็ประสบปัญหาหนี้สินและอาจสูญเสียที่ดิน

แม้ว่าทุกภาคส่วนจะเร่งหาแนวทางแก้ไขที่ เช่น การจัดตั้งโรงเรียนชาวนาเพื่อให้ความรู้แก่ชาวนา รวมทั้งการจัดการองค์ความรู้ให้กับชาวนาผ่านงานวิจัยหลายชิ้นด้วยการระดมความคิดเห็นหลายฝ่าย เช่น ผู้ปลูกข้าว ผู้ประกอบการสีข้าว กลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตข้าว และสร้างแนวทางการจัดการความรู้ ขณะเดียวกันได้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันต่างๆ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้ได้โดยง่าย แต่ยังไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของชาวนาได้อย่างเหมาะสม

สวก.จึงสนับสนุนทุนวิจัยในโครงการ “การจัดการความรู้การผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อพัฒนาเกษตรกรและเพิ่มคุณภาพการผลิตอย่างยั่งยืน” โดยมี ผศ. ดร.กฤติยา รุจิโชค เป็นหัวหน้าโครงการ เพื่อสร้างระบบการจัดการองค์ความรู้ และนำองค์ความรู้ที่ได้มานำเสนอด้วยเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ด้วยการสร้างเรื่องราว (Story) พร้อมแนวทางการนำเสนอที่ดึงดูดใจ  เช่น การสร้าง Animation ชาวนาอัจฉริยะ โดยได้แบ่งประเภทองค์ความรู้ด้านการสร้างชาวนาอัจฉริยะตามสภาพความเป็นจริงต่อการปลูกข้าวเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการสร้างรายได้ ดังนี้

  1. องค์ความรู้พื้นฐานในการปลูกข้าว (Knowledge Based Farmer)
  2. นโยบายภาครัฐบาลทั้งมหภาคและจุลภาค (Government policy)
  3. ความรู้เกี่ยวกับวิกฤติที่เกี่ยวข้องกับการปลูกข้าว (Crisis Situation)
  4. เทคโนโลยีและวิธีการผลิต (Technology and Knowhow)
  5. การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าว (Added Value Rice Product)
  6. การตลาดและการสื่อสาร การตลาด (marketing communication)

โดยองค์ความรู้ต่าง ๆ จะถูกนำเสนอเป็นสื่ออัจฉริยะ (AI) ทุกประเภท แล้วนำมาบรรจุไว้ใน Applications “ชาวนาอัจฉริย: ปลูกข้าวอย่างไรให้รวย” ส่งผ่านข้อมูลความรู้ด้านการผลิตข้าวด้วยดิจิทัลเทคโนโลยีสำหรับการขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐสู่เกษตรกร เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ระหว่างชาวนา หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญ อุตสาหกรรมแปรรูปข้าว

ผลสำเร็จของการวิจัยได้สร้างโอกาสให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในการเข้าถึงความรู้ ข้อมูล นโยบายรัฐที่รองรับสถานการณ์เร่งด่วนต่อการแก้ปัญหาการผลิตข้าวให้ได้ประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ในการกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐสู่เกษตรกรที่ทำให้เกษตรกรพร้อมรับมือในสถานการณ์เร่งด่วนต่อการผลิตข้าวเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ และยังเป็นการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ (Smart Farmer) ที่มีศักยภาพในการทำนา ผลิตข้าวเปลือกและ ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพสามารถลดการพึ่งพาจากภาครัฐได้

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook