สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ผักกระเฉด ผักใบเขียวสร้างรายได้

ผักกระเฉดเป็นผักใบเขียวที่มีรสชาติอร่อย เนื้อสัมผัสเมื่อเคี้ยวจะมีความกรอบโดยที่ไม่ต้องใส่สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น ชาวบ้านจึงนิยมนำไปใช้ประกอบอาหารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น แกงส้ม ผัดผัก ต้ม หรือเอาไว้ทานกับส้มตำ และเมนูที่อร่อยและพลาดไม่ได้เลยก็คือ ผัดกระเฉดหมูกรอบนั่นเองครับ เรียกได้ว่าเป็นเมนูที่อยู่คู่ทุกร้านอาหารและทุกบ้านเลยก็ว่าได้ เนื่องจากรสชาติของผักกระเฉดนั้นมีความเป็นเอกลักษณ์ จึงทำให้หลายครัวเรือนและกิจการร้านอาหารนิยมซื้อผักกระเฉดมาปรุงรสอาหารกันเยอะขึ้น ทำให้เพื่อนๆ เกษตรกรต่างหันมาเพาะปลูกผักกระเฉดกันมากยิ่งขึ้น โดยทำเงินได้กว่าหนึ่งหมื่นบาทต่อเดือนเลย

ไม่เพียงเท่านั้นผักกระเฉดที่ทุกคนต่างถูกใจกันในรสอาหารนั้น ยังมีประโยชน์ทางด้านโภชนาการอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น สารเบต้าโคโรทีนที่อยู่ในใบผักกระเฉดซึ่งช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างวิตามินบีได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งวิตามินบีจะช่วยให้ผิวพรรณผ่องใสขึ้นครับ และยังสามารถช่วยให้ร่างกายเผาผลาญได้ดียิ่งขึ้น และในผักกระเฉดนั้นยังประกอบไปด้วยวิตามินเอ ที่ช่วยบำรุงสายตาให้ห่างไกลจากโรคตาและยังช่วยแก้อาการร้อนในได้ นอกจากนี้ผักกระเฉดยังมีประโยชน์ในการนำมาเป็นอาหารปลาได้ด้วย และในแง่ของสิ่งแวดล้อมผักชนิดนี้ยังช่วยบำบัดน้ำเสียได้อย่างดีเลยครับ

ผักกระเฉดเป็นผักที่ขึ้นอยู่ตามผิวน้ำเท่านั้น มีลักษณะลำต้นเป็นกระบอกและมีข้อเป็นปล้องๆ ลำต้นจะยึดเกี่ยวพันกันเป็นแพ โดยกิ่งและใบจะออกมาจากแต่ล่ะปล้อง มีใบเหมือนขนนก หรือ ลักษณะคล้ายใบมะขาม เป็นผักที่มีดอกสีเหลือง และมีนมที่ห่อหุ้มลำต้นอยู่คล้ายฟองน้ำโดยทำหน้าที่ไม่ให้ต้นนั้นจมน้ำ

วิธีเพาะปลูกผักกระเฉดโดยวิธีการปลูกจะเริ่มจากการไถ่กลบหน้าดินแปลงที่จะปลูก และใส่ปุ๋ยหมักลงไปในดินหรือหมักวัชพืชให้เน่าเพื่อทำให้ดินดียิ่งขึ้นและเริ่มปล่อยน้ำเข้าแปลงประมาณ 25-50 เซนติเมตร จากนั้นนำผักกระเฉดที่มีความยาวประมาณ40-50 เซนติเมตรทั้งนี้ต้องให้ความยาวเหมาะกับระดับน้ำที่ปล่อยเข้าแปลงด้วย โดยจะต้องปักประมาณ 4-5 ต้นต่อที่ และต้องปักให้แน่นและลึกพอประมาณไม่เกิน 10 เซนติเมตร ให้ส่วนยอดนั้นโพล่พ้นน้ำเพื่อให้สัมผัสกับแสงแดดด้วยเพราะผักกระเฉดจะขึ้นได้ดีในที่ที่มีแสงเยอะ  และให้เว้นระยะห่างระหว่างต้นประมาณสองเมตรเมื่อแตกหนอก็คอยเขี่ยเพื่อไม่ให้เกยทับกันหลังปลูกให้บำรุงด้วยปุ๋ยยูเรียรวมปุ๋ยคอกอาทิตย์ล่ะ1-2 ครั้งก็พอแล้วครับจากนี้ก็รอเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เลยครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook