สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

การวิเคราะห์สารพฤกษเคมีในกลุ่มฟลาโวนอยด์ เพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตพฤกษเภสัชภัณฑ์และเวชสำอาง

การวิเคราะห์สารพฤกษเคมีในกลุ่มฟลาโวนอยด์ การจัดทำดีเอ็นเอบาร์โคด การวิเคราะห์ศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระและชะลอความแก่ ของสมุนไพรไทย Monochoria angustifolia (G. X. Wang) Boonkerd & Tungmunnithum ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรชนิดใหม่ของโลก เพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตพฤกษเภสัชภัณฑ์และเวชสำอาง

การค้นพบและศึกษาสมุนไพรไทยชนิดใหม่มีความสำคัญต่อการเพิ่มคุณภาพของวัตถุดิบในการผลิตเภสัชพฤกษศาสตร์และเวชสำอาง ซึ่งนำไปสู่โอกาสทางการค้าที่มากขึ้นและเพิ่มโอกาสในการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา การดำเนินการดังกล่าวเป็นองค์ประกอบสำคัญของยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีของประเทศไทยที่มุ่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวทีโลก ควบคู่ไปกับการสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ซึ่งจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและความสุขของประชาชน แม้ว่าสมุนไพรไทยจำนวนมากที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ยังไม่ถูกค้นพบหรือยังไม่ได้ศึกษา แต่การวิจัยสมุนไพรเหล่านี้จะทำให้ได้ข้อมูลที่มีคุณค่าสำหรับการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ จึงเป็นความท้าทายที่สำคัญที่จะเพิ่มทางเลือกของวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตพฤกษเภสัชภัณฑ์และเวชสำอาง

Monochoria angustifolia (G. X. Wang) Boonkerd & Tungmunnithum เป็นพืชสมุนไพรไทยชนิดใหม่ที่ได้รับการวิจัยทางด้านชีวานุกรมวิธาน (Biosystematics) ทั้งทางด้านสัณฐานวิทยา กายวิภาคศาสตร์ และชีววิทยาโมเลกุลด้วยวิธี DNA sequencing และ Phylogenetic analysis (Tungmunnithum et al., 2016; Tungmunnithum et al., 2017; Tungmunnithum, Boonkerd and Tanaka, 2019) เพื่อพิสูจน์เอกลักษณ์ของพืชชนิดนี้ตลอดจนสถานะทางอนุกรมวิธานและขอบเขตของชนิดโดยศึกษาเปรียบเทียบกับพืชชนิดใกล้เคียงในสกุลเดียวกันทั้งหมดที่มีในประเทศไทยและภูมิภาคใกล้เคียง โดยทำการศึกษาในพืชสกุล Monochoria ทั้งสิ้น 550 ตัวอย่างจาก 25 ประชากรของพืชทุกชนิดในสกุลนี้ ผลการวิจัยนี้ได้รับการบ่งชี้ว่าพืชสมุนไพรชนิดนี้เป็นพืชชนิดใหม่ของโลกและได้ตีพิมพ์ new species ลงในวารสารระดับนานาชาติในปี 2019 โดย ผศ. ดร. ดวงใจ ตั้งมั่นในธรรม ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการของข้อเสนอโครงการนี้ (Tungmunnithum, Boonkerd and Tanaka, 2019)

สวก.ได้สนับสนุนทุนวิจัยในโครงการ “การวิเคราะห์สารพฤกษเคมีในกลุ่มฟลาโวนอยด์ การจัดทำดีเอ็นเอบาร์โคด การวิเคราะห์ศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระและชะลอความแก่ ของสมุนไพรไทย Monochoria angustifolia (G. X. Wang) Boonkerd & Tungmunnithum ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรชนิดใหม่ของโลก เพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตพฤกษเภสัชภัณฑ์และเวชสำอาง” โดยมี ผศ. ดร. ดวงใจ ตั้งมั่นในธรรม ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่งได้เล็งเห็นถึงศักยภาพทางการค้าของสมุนไพรไทยที่ค้นพบใหม่นี้ ซึ่งเติบโตกระจายอยู่ทั่วไปทั่วประเทศไทยและสามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศได้ คุณลักษณะเหล่านี้ทำให้พืชชนิดนี้มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำมาวิจัยและพัฒนาให้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตพฤกษเภสัชภัณฑ์และเวชสำอาง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงพาณิชย์และลดต้นทุนการผลิต

จากผลการศึกษาในเบื้องต้น คณะผู้วิจัยพบว่าสารสกัดเอทานอลของพืชสมุนไพรไทยชนิดนี้ ประกอบด้วยสารพฤกษเคมีในกลุ่มฟลาโวนอยด์ในปริมาณสูง ซึ่งเหมาะแก่การศึกษาต่อยอดเพิ่มเติม เช่น การวิเคราะห์เปรียบเทียบสารพฤกษเคมีในกลุ่มฟลาโวนอยด์ในระดับประชากรของพืชสมุนไพรไทยชนิดนี้จากทั่วทุกเขตการกระจายพันธุ์ของประเทศไทย (floristic region) การจัดทำดีเอ็นเอบาร์โคด การวิเคราะห์ศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระและชะลอวัย ซึ่งสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตพฤกษเภสัชภัณฑ์และเวชสำอางในประเทศไทย เป็นการปลดล็อกศักยภาพของสมุนไพรไทยอย่างเต็มที่เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและสุขภาพของประชาชนสืบต่อไป

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook