สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

การพัฒนาพันธุ์ถั่วฝักยาวเพื่อผลผลิตและคุณภาพฝัก

ถั่วฝักยาว เป็นพืชผักที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยชนิดหนึ่ง เป็นพืชผักส่งออกในรูปฝักสดแช่แข็งไปยังตลาดต่างประเทศที่สำคัญและใช้บริโภคในประเทศตลอดปี เป็นพืชผักที่นิยมปลูกทั่วทุกภาคของประเทศไทย และให้ผลผลิตตลอดปี จากข้อมูลรายงานภาวการณ์ผลิตพืช (รต.01) แบบรายปีของกรมส่งเสริมการเกษตรรายงานว่า ปีเพาะปลูก พ.ศ. 2560 มีพื้นที่ปลูกถั่วฝักยาวทั่วประเทศประมาณ 29,382 ไร่ ผลผลิตรวมประมาณ 22,444 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่เก็บเกี่ยวประมาณ 2,037 กิโลกรัมต่อไร่ โดยในเขตภาคตะวันออก 8 จังหวัด มีพื้นที่ปลูกถั่วฝักยาว 2,229 ไร่ โดยมีพื้นที่ปลูกมากในจังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และจังหวัดสระแก้ว ตามลำดับ (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2561) จากข้อมูลการผลิตถั่วฝักยาวในภาคตะวันออกพบว่าในหลายพื้นที่และหลายจังหวัดยังให้ผลผลิตที่ต่ำ นอกจากนี้แล้วการผลิตโดยทั่วไปยังอาจไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพฝักในการบริโภคฝักสด ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากระยะเวลาในการขนส่งจากผู้ผลิตจนถึงผู้บริโภค และยังมีสาเหตุที่สำคัญมาจากพันธุ์ที่ปลูก ดังนั้นคณะผู้วิจัย จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จึงเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนาพันธุ์ถั่วฝักยาวเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

นอกจากการพัฒนาพันธุ์ถั่วฝักยาวแล้ว คณะผู้วิจัยยังได้มีวัตถุประสงค์ในการจัดการความรู้จากการใช้ฐานความรูและองค์ความรูของงานวิจัยผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริงประยุกต์ ที่นำเสนอสื่อมัลติมีเดียที่ประกอบไปด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียงบรรยายปรากฏเป็นภาพสามมิติในหน้าจอ ผ่านกลองดิจิตอลของแท็บเล็ต สมารทโฟน หรืออุปกรณ์เชื่อมต่ออื่น ๆ เพื่อถ่ายทอดและพัฒนากระบวนการเรียนรูแกเกษตรกรและบุคคลทั่วไปที่สนใจ ยังถือเป็นการต่อยอดในการถ่ายทอดผลการวิจัยไปสู่ผู้ใช้ประโยชน์ ทำให้เกษตรกรและผู้สนใจในการปลูกและขยายพันธุ์ถั่วฝักยาว เกิดการเรียนรู้ตามสภาพแวดล้อมจริง และนำองค์ความรู้เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิตและผลิตถั่วฝักยาวที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดต่อไป

สวก.จึงสนับสนุนทุนวิจัยแก่คณะผู้วิจัย โดยมี รศ.ดร. ปราโมทย์ พรสุริยา เป็นหัวหน้าโครงการ “การพัฒนาพันธุ์ถั่วฝักยาวเพื่อผลผลิตและคุณภาพฝัก” เพื่อคัดเลือกและทดสอบผลผลิตของสายพันธุ์ถั่วฝักยาวในชั่วรุ่นที่ 6 และ 7 จากการผสมข้ามระหว่างพันธุ์ ศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะสัณฐานวิทยาร่วมกับเครื่องหมายโมเลกุล Inter-Simple Sequence Repeats (ISSR) และวิเคราะห์ความใกล้ชิดทางพันธุกรรม รวมทั้งทดสอบคุณภาพฝัก ทั้งด้านกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ ปริมาณสารแอนโทไซยานิน และการเก็บรักษาของสายพันธุ์ถั่วฝักยาว ในชั่วรุ่นที่ 7, พันธุ์พ่อแม่ และพันธุ์การค้าเปรียบเทียบ ตลอดจนพัฒนาชุดการจัดการความรู้สื่อเทคโนโลยีเสมือนจริงประยุกต์ร่วมในการปลูกและขยายพันธุ์ถั่วฝักยาวสำหรับเกษตรกร และบุคคลที่สนใจทั่วไป และในปีที่ 2 ของโครงการวิจัย ทางคณะผู้วิจัยได้ทำการทดสอบและวิเคราะห์เสถียรภาพของผลผลิตและลักษณะทางพืชสวนของสายพันธุ์ถั่วฝักยาวในการปลูกทดสอบในหลายสภาพแวดล้อมในชั่วรุ่น 8-10 ในหลายสภาพแวดล้อม และขยายผลเผยแพร่ถั่วฝักยาวสายพันธุ์ใหม่สู่เกษตรกรต่อไป เพื่อเพิ่มศักยภาพและยกระดับในการผลิตถั่วฝักยาวเพื่อรองรับตลาดที่เติบโตขึ้นได้อย่างยั่งยืน

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook