สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

มะม่วงเบา นิยมไม่เบา..ทั่วประเทศ

มะม่วงเบา เป็นมะม่วงที่พันธุ์พื้นบ้านของทางภาคใต้ของประเทศไทย คนพื้นถิ่นมักเรียกกันสั้นๆ ว่า “ลูกม่วงเบา” พบเห็นได้ทั่วไปแทบทุกจังหวัด ให้ผลได้ทุกฤดู เก็บเกี่ยวกันได้ตลอดทั้งปี นอกจากรับประทานผลสดกันทั้งแบบปอกเปลือกและไม่ปอก โดยนำไปจิ้มกับน้ำปลาหวาน กะปิโหว่ หรือกะปิแกงธรรมดาก็ได้ ยังนำไปทำเป็นส่วนผสมในเมนูอาหารต่าง เช่น แกงเหลืองปลา ที่ในบางครัวเรือนเลือกนำมะม่วงเบามาใส่แทนหน่อไม้ดองได้รสชาตอร่อยไม่แพ้ตำรับเดิมเลย หรือจะนำไปยำแบบโบราณคลุกกับมะพร้าวคั่ว หอมแดง กุ้งแห้ง ก็อร่อยมาก ถือว่าเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซีกันเลย และด้วยความที่มะม่วงชนิดนี้ให้ผลดก สำหรับบ้านไหนที่ไม่ได้นำออกไปขาย ก็มักจะแช่อิ่มไว้เพื่อเก็บไว้รับประทานได้นานขึ้น

แต่เดิมมะม่วงเบานั้นจะเป็นที่รู้จักกันเฉพาะในภาคใต้ ปลูกกันมากในจังหวัดสงขลา ตรัง และพัทลุง แต่ด้วยความเจริญเรื่องการขนส่งและการสื่อสารที่ทันสมัย ทำให้คนรู้จักมะม่วงเบามากขึ้น ทำให้เกิดมูลค่าการขายและเริ่มขนส่งเข้ามาขายในกรุงเทพและกระจายตัวไปทั่วประเทศ ไม่ว่าจะอยู่ภาคไหนก็รับประทานได้ ทำให้เกิดเมนูใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้น เช่น สมูทตี้และค็อกเทลมะม่วงเบา เป็นต้น และเมื่อเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น ย่อมส่งผลให้เกษตรกรหันมาให้ความสำคัญในการเก็บเกี่ยวผลผลิตขาย ซึ่งต้นมะม่วงที่มีอยู่ส่วนใหญ่จะปลูกด้วยการเพาะเมล็ดและมีเพียงส่วนน้อยที่ปลูกด้วยการทาบกิ่ง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์มะม่วงเบา จะเป็นไม้ผลที่มีทรงพุ่ม มีความสูงได้ถึง 5 เมตร ใบสีเขียวเข้ม โคนใบเรียวสอบ ปลายใบแหลม ผลมีลักษณะทรงไข่กลับ มีจุกขนาดเล็ก เปลือกผลดิบสีเขียว เนื้อผลสีขาวออมเขียวจางๆ สำหรับการปลูกมะม่วงเบานั้นจะปลูกทั้งแบบยกร่องและพื้นราบ บ้างก็ปลูกในบริเวณบ้าน บางรายที่ปลูกเป็นพืชแซมมักจะปล่อยให้เติบโตตามธรรมชาติ แต่สำหรับเกษตรกรที่ผลิตอย่างจริงจังจะหมั่นตัดแต่งกิ่งและทรงพุ่ม 1 ครั้งต่อเดือน เป็นการควบคุมแมลงศัตรูพืชและกระตุ้นการให้ผลผลิตมะม่วงไปในตัว ซึ่งศัตรูและของมะม่วงเบาคือ ราดำบนช่อดอกและผลอ่อน ด้วงหนวดยาวที่ชอนไชเปลือกไม้และลำต้น หนอนแปะใบที่ทำลายใบอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยจักจั่น มวนนักกล้าม และหนอนเจาะผล ส่วนโรคที่พบบ่อย คือ โรคบั่วปมที่เกิดบนผลมะม่วงทำให้มะม่วงเกิดรอยบุ๋มเป็นปมได้ สำหรับการเก็บเกี่ยวมะม่วง้บานั้นให้สังเกตจากขนาดผล โดยเฉลี่ยจะเริ่มเก็บเกี่ยวหลังจากที่ผลิดอกแล้วราว 20-80 วัน และนำไปจำหน่ายต่อไป

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook