สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

มะเม่า ผลไม้ป่า ส่งมอบคุณค่าสู่เมือง

มะเม่า ผลไม้ป่าลูกจิ๋วพวงโตๆ แม้จะมีผลสีแดงเรื่อ แดงเข้ม แต่กลับถูกจัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับมะขามป้อม ที่พอพูดถึงมะขามป้อมเราคงคิดถึงรสชาติเปรี้ยวชุ่มคอขึ้นมาทันทีเลยนะครับ ด้วยความที่เป็นผลไม้ป่าจึงทำให้คนส่วนใหญ่อาจจะไม่รู้จักกันนัก แต่หากจะนำสรรพคุณมาสาธยายแล้ว หลายคนคงหันมาสนใจพืชชนิดนี้ไม่น้อย

มะเม่านั้นพบเห็นทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย มีชื่อเรียกในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกันไปแต่ก็ยังคงคำว่า “เม่า”ไว้ ให้เราพอเข้าใจได้ว่าเป็นมะเม่าได้ เช่น ทางเหนือเรียกว่าบ่าเม่า หรือภาคอีสานเรียก หมากเม่า เป็นต้น และอาจมีแถมท้ายด้วยชื่อพันธุ์ของมะเม่าอีกที เช่น มะเม่าสร้อย มะเม่าขี้ตาควาย เป็นต้น ส่วนมะเม่าหลวงนั้น เราจะเรียกกันว่า “มะเม่า”  ต้นมะเม่านี้สามารถจำแนกออกมาได้ถึง 170 ชนิด แต่ในไทยเรานั้นมีเพียง 5 พันธุ์นะครับที่พบเห็นกัน โดยพบที่แหล่งปลูกขนาดใหญ่บนเขาภูพานพบมะเม่าพันธุ์ไข่ปลา พันธุ์ขี้ตาควาย และพันธุ์มะเม่าหลวง

มะเม่าเป็นพืชยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงถึง 10 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นกว้างถึง 4 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นทรงพุ่ม มีใบดก สามารถปลูกให้ร่มเงาได้อย่างดี แตกดอกเป็นดอกสีขาวครีมเป็นช่อ ก่อนที่จะแตกผลขนาดเล็ก มีลักษณะกลมเป็นพวง เมื่ออ่อนจะเป็นสีเขียว แต่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อสุก ยิ่งสุกจะยิ่งมีสีแดงเข้มขึ้นเรื่อยๆ จนเกือบดำ กลางผลจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด สามารถเคี้ยวได้

ผลมะเม่ามีรสชาติทั้งเปรี้ยว ขม และฝาด ซึ่งรสขมนั้นจะให้สารแทนนินที่ช่วยป้องกันการเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด ลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ส่วนสารฟลาโวนอยด์จากรสฝาด ช่วยลดความเปราะของผนังหลอดเลือด และมะเม่ายังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย บำรุงสายตา บำรุงเลือด ขับเสมหะ และเป็นยาแก้ท้องผูกอีกด้วย นอกจาผลมะเม่าแล้ว ส่วนอื่นๆ ของต้นมะเม่า ยังนำมาใช้เป็นสมุนไพรได้ ไม่ว่าจะเป็นการนำรากและต้น มาขับปัสสาวะ ขับเลือด ขับน้ำคาวปลา แกปัญหาเรื่องระดูขาว บำรุงไต และคลายเมื่อย คลายอาการกล้ามเนื้ออักเสบ

ผลมะเม่านั้นนอกจากนำมารับประทานผลสุกแบบสดๆ และนำมาใช้เป็นสมุนไพรแล้ว ยังนิยมนำมาแปรรูปเป็นน้ำมะเม่าพร้อมดื่มชนิดเข้มข้น ไวน์ผลไม้ ส่วนกากที่เหลือจากการทำน้ำมะเม่ายังสารถนำมาผลิตแยมทาปาดอีกด้วย เพราะชีวิตคนเมืองอาจจะหามะเม่าสดๆ รับประทานกันยาก จนเกิดเป็นธุรกิจแปรรูปมะเม่าจากป่า เพื่อนำมาผลิตภัณฑ์จากมะเม่ามาส่งมอบเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพให้แก่คนเมืองครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook