สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

รากบัว สมุนไพรใต้น้ำที่ต้องอนุรักษ์

รากบัว คือสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์มากมาย อุดมไปด้วยเส้นใย วิตามินหลายชนิดและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้หลายชนิด ทำให้สุขภาพแข็งแรง โดยเฉพาะบำรุงเส้นผม และระบบสายตา กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ป้องกันอาการของโรคหัวใจ ลดความเครียด ควบคุมความดันโลหิต และระบบขับถ่ายให้เป็นปกติ ชาวบ้านมักจะนำรากบัวมารับประทาน โดยการปรุงเป็นอาหารด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การนำมาหั่นให้เป็นรูปครึ่งวงกลม หนาประมาณ 2-3 มม. ใช้เป็นเมนูผัดได้หลายอย่าง หรือถ้าหั่นเป็นชิ้นพอคำ ก็จะนำมาปรุงเป็นอาหารญี่ปุ่นก็ได้ นอกจากนั้นถ้าหั่นตามความยาวของรากบัว ก็จะนำมาทอดหรือมาเคี่ยวใช้เป็นก้อนก็ได้ รากบัวยังใช้ผสมเป็นผักสลัด วิธีทำได้แก่การหั้นเป็นชิ้นบาง ๆ หรือนำมาทอดกรอบบริโภคเป็นอาหารว่าง

ยอดของต้นสามารถนำมาล้างใช้รับประทานได้กับน้ำพริก ส่วนใหญ่เป็นที่นิยมของผู้สูงอายุส่วนคนรุ่นใหญ่ยังไม่ค่อยแพร่หลายเท่าที่ควรและนับวันจะยิ่งน้อยลง จึงอยากชวนเพื่อนๆ เกษตรกรมาปลูกกัน เพราะเป็นพืชที่จะต้องอนุรักษ์ไว้อย่าให้สูญหายไปนะครับ เพราะเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรหลายอย่างดังที่ผมได้ชวนคุยไปแล้ว

รากบัวเป็นสมุนไพรที่มีคุณค่าทางโภชนาการก็จริง แต่ก็มีโทษอยู่บ้าง โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวดังนี้ ผู้ที่มีปัญหาแผลในกระเพาะอาหารและการทำงานของม้ามอ่อนแอ และห้ามสตรีที่อยู่ระหว่างมีรอบเดือนรับประทาน และสำหรับผู้ที่มีภาวะเบาหวานนั้น ห้ามทานรากบัวทุกชนิดเลยนะครับ เพราะมีส่วนผสมของแป้งและน้ำตาลอยู่เป็นจำนวนมาก

รากบัวจัดอยู่ในประเภทไม้เถาขนาดเล็ก มีรากงอกเป็นกระจุกลักษณะคล้ายกระชาย โดยมีเถาแรกเป็นหลักแล้วจะแผ่กระจายออกรอบ ๆ มีหนามงองุ้มลงมา มีกิ่งหรือแขนงแตกงอกขึ้นมาจากเถาหลัก พร้อมใบที่ผลิมารอบ ๆ กิ่งแขนงด้วย โดยมีลักษณะคล้ายเข็มมีทั้งใบเดี่ยวและใบกระจุก บางกระจุกจะมีถึง 9 เส้น มีสีเขียวเป็นพวงร้อยรอบกิ่งแขนงคล้ายหางกระรอก โดยเฉพาะในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะออกดอกเป็นสีขาวสดใส มีผลกลมเป็นพูและมีเมล็ดอยู่ข้างใน สามารถนำมาขยายพันธุ์ได้ทั้งเมล็ดและเหง้า

วิธีปลูกควรปลูกในช่วงฤดูฝน จะลงดินหรือปลูกในกระถางก็ได้ การปลูกให้คำนึงถึงส่วนที่จะนำมาใช้งานได้แก่ราก จึงต้องใส่ดินให้มากเข้าไว้เพื่อให้รากงอกนั่นเอง เมื่อต้นหลักมีอายุประมาณ 1 ปีก็จะเหี่ยวเฉา ดังนั้นควรขุดเอาส่วนที่จะใช้งานไว้ก่อน เพื่อที่จะนำไปใช้งานได้เมื่อต้องการใช้

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook