สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ว่านรางจืด สมุนไพรถอนพิษได้

ว่านรางจืดนั้นเป็นสมุนไพรที่พบเจอได้ทุกภาคในประเทศไทยโดยแต่ล่ะภาคนั้นจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามภาษาท้องถิ่นของแต่ล่ะภาค เช่น ในภาคใต้จังหวัดนครศรีธรรมราช จะเรียกว่า ทิดพุด ส่วนจังหวัดยะลาจะเรียกว่า คาย ส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์นั้นจะเรียกว่า แอดแอ ย่าแย้ หรือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จะเรียกว่า ซั้งกะ ปั้งกะละ เป็นต้น  โดยสาเหตุที่พืชรางจืดพบในประเทศไทยเกือบทุกพื้นที่เพราะพืชสมุนไพรรางจืดนั้นชอบขึ้นในป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ ซึ่งเป็นป่าที่มีอยู่มากในประเทศไทย

ว่านรางจืดนั้นถูกจัดเป็นพืชสมุนไพรในกระทรวงสาธารณะสุข เพราะสรรพคุณที่ใช้รักษาโรคโดยการถอนพิษเบื้องต้นได้  ไม่ว่าจะเป็นพิษจากสารตะกั่ว พิษจากยาเบื่อหนู หรือจากสัตว์บางชนิด จึงไม่น่าแปลกใจครับว่าทำไมรางจืดถึงเป็นพืชสมุนไพรที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณะสุข ตามตำรับยาแผนไทย ประโยชน์ของรางจืดนอกจากจะใช้เป็นยาถอนพิษได้แล้ว ยังสามารถใช้เป็นยาแก้โรคภัยไข้เจ็บได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง แก้ผื่นคันและยังรักษาบาดแผลได้ด้วย ส่วนของยอดและดอกของรางจืดยังสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารแล้วรับประทานได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะรับประทานเป็นผักลวกจิ้มน้ำพริก หรือใส่ในต้มยำก็อร่อยไม่แพ้กันเลยครับ

รางจืดเป็นไม้เถาเลื้อย ไม่สามารถยืดลำต้นขึ้นด้วยตัวเองได้ ต้องหาที่เกาะเกี่ยว ใบของรางจืดมีลักษณะเรียวยาวคล้ายรูปไข่ สีเขียวเข้ม ดอกมีสีม่วงอ่อน เกสรมีสีเหลือง นับได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีดอกสวยงามเลยก็ว่าได้ครับ โดยอายุของรางจืดนั้นจะมีอายุหลายปีทนต่อสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดีทั้งทนแดดทนฝนทุกสภาวะ

วิธีการว่านรางจืดนั้นก็ไม่ยากครับ เพราะเป็นพืชที่สามารถพบเจอได้โดยง่าย จึงนิยมปลูกกันด้วยวิธีการปักชำ เริ่มจากการเตรียมดินนำดินผสมกับปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอกให้เข้ากัน จากนั้นก็ตากทิ้งไว้1 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรคในดินให้หมดไป ระหว่างนั้นให้นำก้านพันธุ์ต้นเตรียมไว้ เมื่อถึงเวลาปลูกก็ขุดหลุมให้มีขนาด 50 เซนติเมตรโดยจะต้องเว้นระยะห่างระหว่างต้น 1 เมตรก่อนที่จะนำก้านที่เตรียมไว้มาปักชำลงในดิน จากนั้นก็ให้หมั่นรดน้ำเป็นประจำและจะต้องใช้กะลามะพร้าวหรือกาบมะพร้าวที่สามารถพรางแสงให้กับรางจืดได้เพื่อป้องกันการคายน้ำ

การปลูกรางจืดนั้นจะสามารถปลูกได้ดีในช่วงฤดูฝนช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคมเพราะเป็นพืชที่ชื่นชอบน้ำ เราจะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องการขาดน้ำในช่วงเพาะปลูกเท่าใดนัก ปลูกเสร็จราว 1 ปีก็รอเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้วครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook