สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

หนอนแก้ว แมลงที่ต้องป้องกัน

หนอนแก้ว คือ หนอนที่เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อหัวกะโหลก เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของเพื่อนๆ เกษตรกรไม่น้อยเลยครับ อย่างเช่นการระบาดของหนอนแก้วชอนใบมะเขือเทศเมื่อปี 2562 ที่ผ่านมาที่ก่อความเสียหายให้แก่เพื่อน ๆ เกษตรกรในประเทศพม่า อินเดียและเนปาล อย่างมาก แม้จะไม่มีการระบาดในบ้านเรา แต่ก็เป็นเรื่องที่เราต้องเรียนรู้และใส่ใจกันก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้นตามมา หนอนแก้วชอนใบนี้ มักจะเข้าทำลายใบของพืชหลัก ก่อนที่จะชอนไชไปถึงผลด้วย โดยพืชที่หนอนชนิดนี้มักเข้าทำลาย พืชต่างๆ ทั้งพืชสวนและพืชไร่ ซึ่งเมื่อเกิดการระบาดนั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อพืชผลมากกว่า 80% กันเลยครับ

หนอนแก้วนั้นมีวงจรชีวิตระหว่าง 49-56 วัน โดยเริ่มจากเมื่อแม่ผีเสื้อ 1 ตัว ที่สามารถวางไข่ได้มากถึง 150 ฟอง แล้วมีระยะไข่ 1 สัปดาห์ เป็นหนอน 19-21 วัน เมื่อโตเต็มที่หนอนแก้วจะมีความยาวของลำตัวถึง 10 เซนติเมตร ระยะเป็นดักแด้กินเวลา 17-23 วัน จะมีความยาว 5.5 เซนติเมตร ก่อนจะกลายเป็นตัวเต็มวัย โดยเพศผู้มีอายุไม่เกิน 10 วัน ส่วนเพศเมียไม่เกิน 14 วัน เหตุที่มีชื่อว่าผีเสื้อหัวกะโหลก เพราะบริเวณสันหลังของผีเสื้อมีรูปคล้ายหัวกะโหลก เป็นลวดลายที่เกิดขึ้นมาเพื่อป้องกันผีเสื้อจากภัยคุกคามจากศัตรู

หนอนแก้วในบ้านเรามักเข้าทำลายต้นถั่วและธัญพืชโดยเฉพาะงา ด้วยความที่มีลำตัวขนาดใหญ่ จึงสามารถทำลายต้นพืชได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ลำต้น ใบ และฝัก เมื่อเข้าไปทำลายกัดกินต้นหนึ่งจนหมดแล้วจึงย้ายไปอาศัยกัดกินต้นต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด โดยหนอนแก้วจำทำการจู่โจมเข้าทำลายในเวลาที่พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าแล้วและอาศัยอยู่บริเวณใต้ใบเหมือน เป็นการพรางตัวเพื่อไม่ให้เราสามารถมองเห็นได้ง่ายนัก

ส่วนหนอนแก้วส้มนั้น จะเป็นหนอนผีเสื้อที่เข้าทำลายเฉพาะพืชตระกูลส้ม เช่น มะนาว ส้มโอ ส้มเขียวหวาน เป็นต้น มักจะเริ่มวางไข่ไว้ที่ใบของต้นส้ม มีขนาดเล็กจนเราไม่สามารถมองเห็นได้หากไม่สังเกตอย่างถี่ถ้วน เมื่อเกิดเป็นตัวหนอนจะทำการทำลายใบของต้นพืชอย่างรวดเร็ว จนทำให้ต้นตายได้ ส่วนใหญ่หนอนชนิดนี้จะแพร่ระบาดในช่วงที่ต้นส้มต่างๆ เริ่มผลิยอดอ่อนในหน้าฝน ดังนั้นเราต้องเตรียมการป้องกันการขยายพันธุ์ตั้งแต่ก่อนเข้าฤดูฝน

เรื่องเล็กๆ ที่เราต้องใส่ใจเสมอครับ และจะได้ผลดีเราควรเลี่ยงสารเคมีนะครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook