สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

หอยขม แต่รายได้หวาน

หอยขมสัตว์น้ำจืดที่นิยมนำมาบริโภคและรับประทานเป็นอาหารกันยางจำนวนมาก ทั้งยังมีการนำมารับประทานเป็นอาหารในบ้านเราทุกภาคทั่วไทย จึงไม่น่าแปลกใจครับที่หอยขม สามารถบุกตลาดการค้าขายทางการเกษตรและพืชพันธุ์สัตว์น้ำได้เป็นอย่างดี และสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่เลี้ยงหอยขมได้อย่างเป็นจำนวนมาก

โดยเพื่อน ๆ เกษตรกรที่เลี้ยงหอยขมอยู่แล้ว จะนิยมนำหอยขมไปขายตามร้านอาหารใหญ่ที่ใช้หอยขมเป็นวัตถุดิบในการทำอาหาร และยังมีการขายปลีกและนำไปแปรรูปเป็นหอยขมแกะเปลือกสำเร็จรูป เพื่อให้สะดวกในการนำไปปรุงรสอาหารต่างๆ โดยถ้าหากเป็นหอยขมสดจะขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 40 บาท และถ้าเป็นหอยขมแบบปอกเปลือกเรียบร้อยแล้วจะสามารถขายในราคาส่งได้อยู่ที่ 85 ถึง 140 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งถ้าหากเลี้ยงหอยขมอย่างจริงจังแล้วก็สามารถจับหอยขมได้ต่อวันถึง 100 กว่ากิโลกรัมเลยครับ

หอยขมเป็นพืชที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด เป็นหอยที่มีเปลือกฝาเดียวลักษณะเปลือกเป็นรูปทรงกรวยโค้งวนหมุนไปมาคล้ายเกลียวคลื่น เปลือกมีสีดำเทา หากไม่ปลอกเปลือกจะนิยมรับประทานกันด้วยการดูดเนื้อออกจากตัวหอย เราสามารถพบหอยขมอยู่ในพื้นที่ที่มีน้ำจืดทั่วไปไม่ว่าจะเป็น ลำคลอง แม่น้ำ ห้วยหนองคลองบึง เป็นต้น และที่สำคัญหอยขมเป็นสัตว์น้ำที่ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดีอย่างมาก ทำให้เมื่อมีการเพาะพันธุ์แล้ว ไม่จำต้องดูแลเรื่องศัตรูของหอยขมสักเท่าไหร่

การเลี้ยงหอยขมจะนิยมเลี้ยงกันในบ่อดิน โดยขนาดบ่อนั้นจะมีความกว้างกี่ไร่ก็ได้ แต่ให้ระดับน้ำมีความลึกอยู่ที่ประมาณ 1 เมตรขึ้นไป ก่อนจะถ่ายน้ำลงบ่อให้นำทางมะพร้าว ยางล้อรถเก่ามาใส่ไว้ในบ่อ เพื่อใช้เป็นที่เกาะของหอยขม จากนั้นจึงถ่ายน้ำลงใส่ในบ่อได้ ส่วนวิธีการหาพันธุ์หอยขมสามารถหาซื้อได้ในท้องตลาดทั่วไป โดยหอยขมนั้นเป็นหอยที่มี 2 เพศในตัวเดียวกันสามารถผสมพันธุ์ได้โดยตัวเองหรือข้ามตัวก็ได้ เลี้ยงด้วยรำข้าวในปริมาณที่พอเหมาะกับจำนวนหอยในบ่อ โดยให้อาหารเพียงอาทิตย์ละครั้ง เพราะหอยขมสามารถบริโภค แพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ที่อยู่ในน้ำได้ ใช้ระยะเวลาประมาณ 5 เดือนหอยขมจะสามารถขยายพันธุ์ได้ เมื่อขยายพันธุ์ได้แล้วก็สามารถจับหอยขมไปขายได้ตามท้องตลาดตลอดทั้งปีเลยครับ นอกจากจะเลี้ยงง่ายแล้วยังสร้างรายได้งามเลยล่ะหากใครกำลังหาช่องทางการเลี้ยงสัตว์น้ำสร้างรายได้ก็ลองเลี้ยงหอยขมดูได้นะครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook