สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

อาหารไก่ เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

อาหารไก่ นับเป็นต้นทุนที่มีสัดส่วนเกือบร้อยละ 60-70 ของต้นทุนการเลี้ยงไก่ โดยเฉพาะไก่ไข่ ซึ่งจะต้องนำโภชนาการที่ได้รับจากอาหารที่กินเข้าไปมาใช้ประโยชน์ในการสร้างไข่ให้มีคุณภาพตามช่วงวัยของไก่ การที่จะลดต้นทุนในส่วนนี้จึงจำเป็นที่จะต้องระมัดระวังไม่ให้กระทบกับคุณภาพที่ไก่จะได้รับด้วยนะครับ เพราะอาหารสัตว์นั้นต้องมีปริมาณสารอาหารที่ส่งผลดีต่อผลผลิตโดยเราต้องเลือกมาใช้อย่างเหมาะสม

อาหารไก่ที่เป็นประเภทแป้งและน้ำตาลมากกว่าโปรตีน คือ รำละเอียด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ต้นสาคู ปลายข้าว เป็นต้น ซึ่งเป็นแหล่งที่ให้พลังงานแก่ไก่ ส่วนของอาหารประเภทโปรตีนซึ่งบางชนิดอาจให้โปรตีนมากเกินความจำเป็นของไก่ เช่น กากถั่วเหลือง กากถั่วต่างๆ และปลาป่น เป็นต้น  ส่วนที่เป็นไขมัน ที่เน้นการให้พลังงานเป็นหลัก เช่น น้ำมันหรือกากน้ำตาล และส่วนของวิตามินเกลือแร่ กรดอะมิโนรวมที่เราต้องนำมาเพิ่มเป็นอาหารเสริมให้ไก่เป็นระยะ ซึ่งสามารถหาซื้อแบบผสมสำเร็จรูปมาแล้วก็ได้ครับ

การเลี้ยงไก่นั้นเราต้องมีการปรับสัดส่วนการให้อาหารให้เหมาะสมตามวัย โดยไก่ที่โตขึ้นจะกินอาหารเพิ่มขึ้น และต้องการสารอาหารที่แตกต่างกันไป โดยไก่ไข่ที่ยังเล็กหรือในช่วงระยะแรกนั้น เราต้องเทอาหารและน้ำไว้ในรางไม่ให้พร่อง ช่วงที่ลูกไก่เพิ่งเกิดอาจจะใช้วิธีโรยอาหารบางๆ ไว้ใต้บริเวณเครื่องกก เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกไก่กินอาหารได้ง่ายขึ้น ช่วงที่ไก่ยังเล็กอยู่นี้ การให้อาหารอย่างเพียงพอจะช่วยพัฒนาให้ไก่มีความสมบูรณ์ของโครงสร้าง เมื่อไก่อายุได้ 3 เดือนเป็นไก่สาวให้เราจำกัดการให้อาหาร เพื่อให้ไก่สามารถให้ไข่ได้ทนมากขึ้น โดยต้องให้ไก่ทุกตัวได้อาหารเท่าๆ กัน สำหรับอาหารไก่ในระยะให้ไข่ เราต้องคำนึงถึงหลายองค์ประกอบ ทั้งอัตราการให้ไข่ ขนาดของไก่ ไก่ที่มีนำหนักตัวเยอะเราต้องให้อาหารเยอะมากขึ้น และยังต้องคำนึงสภาพภูมิอากาศอีกด้วย

ส่วนของอาหารไก่พื้นเมืองนั้น แต่ก่อนอาจจะปล่อยปละละเลยให้ไก่หาอาหารกินเองตามธรรมชาติ ทำให้ไก่ไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ใช้ระยะเวลาในเลี้ยงยาวนานถึงครึ่งปี และยังมีปัญหาของการเป็นโรคต่างๆ ตามมา จึงมีการคำนวณสูตรอาหารเลี้ยงไก่พื้นเมืองออกมาคล้ายๆ กับไก่ไข่ ซึ่งช่วยกระตุ้นให้ไก่เติบโตไว ได้เนื้อเยอะ ลดระยะเวลาการเลี้ยงลงได้ถึง 3 เดือน โดยใช้วัตถุดิบอาหารที่หาง่าย ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพด มันเส้น ข้าวฟ่าง เมื่อมีการปรับเปลี่ยนอาหารไก่ ผลผลิตที่ได้รับก็ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และยังลดต้นทุน ไม่จำเป็นต้องใช้อาหารสำเร็จรูปตามท้องตลาดทั้งหมด โดยวิธีการให้อาหารไก่นั้น สามารถศึกษาอย่างละเอียดให้เหมาะสมกับพันธุ์ไก่ ช่วงวัย และท้องที่ที่เราเลี้ยงด้วยนะครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook