สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

อูฐ สิงห์ทะเลทราย ผลิตได้ทั้งเนื้อและนม

อูฐ เป็นสัตว์ที่เราพบเห็นได้ตามภาพยนตร์ที่เกี่ยวพันกับทะเลทรายและดินแดนอาหรับ อูฐที่พบโดยทั่วไปจะเป็นอูฐเป็นโหนกเดียวและโหนกคู่ โดยจะมีอูฐโหนกเดียวมีจำนวนถึงร้อยละ 94 โดยอูฐนั้นเป็นสัตว์ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ก่อนที่จะมีการนำไปเลี้ยงและกระจายพันธุ์ในแถบแอฟริกา และเอเชียต่อไป โดยอูฐที่พบในแถบมองโกเลียและทางตอนบนของประเทศจีนนั้นจะเป็นพันธุ์ที่มีชื่อว่า Wild Bactrian ที่มีขนปกคลุมบริเวณโหนก จะเป็นพันธุ์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ส่วนอีก 2 พันธุ์ ได้แก่ Bactrian ที่พบมากในเอเชียกลาง และ พันธุ์ Dromedary หรือ Arabian camel ที่มักจะพบได้ในประเทศแถบตะวันออกกลาง แถบทะเลทรายสะฮาราและประเทศในแถบเอเชียใต้ นั้นยังมีให้พบเห็นได้อยู่มาก

อูฐเป็นสัตว์ที่ผลิตน้ำนมได้เหมือนกับวัวและกระบือ โดยมีเต้านม 4 เต้าเหมือนกัน  มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศแห้งแล้งได้ มีความสามารถในการเดินทางได้ทนทาน ทนแล้ง อดน้ำได้ดี ต่างจากสัตว์ให้น้ำนมอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น แพะ แกะ โค กระบือ ที่ต้องกินน้ำบ่อยกว่า และเดินทางได้ต่อเนื่องไม่นานนัก ทำให้ในแถบทะเลทรายที่แห้งแล้งนิยมเลี้ยงกันมาตั้งแต่ยุคเก่าๆ เพื่อใช้แรงงานอูฐในการเดินทาง บรรทุกสิ่งของและยังสามารถรีดเอาน้ำนมมาดื่มและนำเนื้อมารับประทานเป็นอาหารได้ด้วย สำหรับน้ำนมที่ได้จากอูฐนั้นนอกจากจะนำมาบริโภคสด ยังสามารถนำมาแปรรูปเป็น เนย นมเปรี้ยวและชีสได้ และในส่วนของขนอูฐนั้นนิยมนำมาผลิตเป็นเสื้อผ้า โดยขนที่นุ่มและยาวที่ได้จากบริเวณคอและท้องจะขายได้ราคาดีกว่าขนส่วนอื่นๆ มาก และส่วนของหนังอูฐสามารถนำมาผลิตกระเป๋าหนัง รองเท้าหนัง และเครื่องหนังต่างๆ ที่มีความนุ่มและเงางาม จึงทำให้เกิดการเลี้ยงอูฐกันขึ้นมา โดยฟาร์มปศุสัตว์ส่วนมากจะอยู่ในประเทศซูดานและออสเตรเลียในพื้นที่ที่เป็นทะเลทราย

แม้ว่าอูฐจะมีกระเพาะถึง 4 กระเพาะเช่นเดียวกับสัตว์เคี้ยวเอื้องต่างๆ  สามารถนำพืชประเภทไม้พุ่มที่เป็นอาหารคุณภาพต่ำมาใช้เป็นอาหารได้ดี  เป็นสัตว์ที่มีอายุยาวนานถึง 40-50 ปี มีความสูงวัดจากเท้าถึงโหนกประมาณ 185-215เซนติเมตร มีน้ำหนักตัวระหว่าง 300-1,000 กิโลกรัมแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ ความเร็วในการวิ่งเฉลี่ย 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การกักเก็บน้ำไว้ที่บริเวณโหนกของอูฐนั้นจะเก็บไว้ในรูปของไขมัน เมื่อเกิดการเผาผลาญจึงเปลี่ยนเป็นน้ำ ทำให้สามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพิงแหล่งน้ำภายนอกได้ในเวลาที่ยาวนานกว่าสัตว์ชนิดอื่นแม้ว่าจะอยู่ในสภาพอากาศที่แห้งแล้งและร้อนจัดก็ตาม ทำให้กลายเป็นสัตว์ผลิตน้ำนมและเนื้อที่ริยมเลี้ยงในทะเลทราย

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook