สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

เพลี้ยจักจั่น แมลงร้ายช่วงฝนแล้ง

เพลี้ยจักจั่น เป็นหนึ่งในแมลงศัตรูพืชที่เข้าทำลายพืชผลของเราโดยตรงและยังเป็นพาหะนำโรคและเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ มาสู่ต้นพืช พบการระบาดในเขตเกษตรกรรมภายในทวีปเอเชียมาช้านาน เพราะแมลงชนิดนี้จะสามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้ดีในสภาพอากาศที่ร้อนจัด แดดแรง ยิ่งร้อนยิ่งระบาดเยอะ ทำให้พืชผลที่มักให้ผลผลิตในช่วงแล้งได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะ มะม่วง ที่มักจะแตกช่อดอกในช่วงฤดูร้อนนั้น มักจะโดนเพลี้ยจักจั่นเข้าทำลาย จนส่งผลกระทบต่อการผลผลิตกันอย่างมากเลยครับ

ลักษณะของเพลี้ยจักจั่นที่พบการระบาดอย่างมากในประเทศไทยเรานั้น จะเป็นแมลงขนาดเล็ก สีของลำตัวเป็นสีออกเทาปนดำหรือน้ำตาล หัวทู่มีขนาดใหญ่ ลำตัวสอบเข้าเป็นทรงเรียวแหลม มีความยาว 0.5-0.6 เซนติเมตร มีการวางไข่ลักษณะรียาวทิ้งไว้ในส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ใบอ่อน ลำต้น ต้นอ่อนและก้านดอก ทำให้บริเวณที่มีการวางไข่ไว้มีบาดแผลเกิดขึ้น ระยะไข่จะใช้เวลาประมาณ 6-10 วัน แล้วกลายเป็นตัวอ่อนขนาดจิ๋วคล้ากบ ลำตัวแบน มีสีเขียวอ่อนออกเหลือง มีขนาดเล็กจนแทบมองไม่เห็น ความยาวประมาณ 0.2 เซนติเมตร ระยะที่เป็นตัวอ่อนจะอาศัยน้ำเลี้ยงของต้นพืชเป็นอาหารโดยการดูดกินบริเวณใต้ใบ เมื่อพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย ลักษณะลำตัวยาวรี มีความยาวประมาณ 0.25เซนติเมตร สามารถเคลื่อนตัวได้อย่างปราดเปรียว ทั้งกระโดดและบินได้อย่างรวดเร็วเมื่อถูกจู่โจม  ตัวเมียแต่ละตัวสามารถไข่ได้ 30-100 ฟอง

เมื่อเพลี้ยจักจั่นได้ทำการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบพืช หากเป็นใบอ่อนจะชะงักการเจริญ ใบจะค่อยๆหดเล็กลง มีอาการใบงอ แต่หากเป็นใบแก่จะทำให้เกิดอาการใบไหม้บริเวณขอบใบเหลือง แต่หากมีจำนวนเพลี้ยจำนวนมากอาจทำให้ใบแห้งตายแล้วปลิดใบร่วงหมด วิธีสังเกตร่องรอยของการแพร่ระบาดของเพลี้ยชนิดนี้ สามารถดูได้จากใบของต้นพืชที่บริเวณใบจะมีคราบน้ำข้นๆ เกาะติดบนใบคล้ายยางเหนียว ดอกและผลอาจจะมีราสีดำเกาะติดอยู่ หรือบางครั้งอาจจะสังเกตเห็นเจ้าเพลี้ยเหล่านี้กระโดดให้เห็นกันซึ่งหน้าเลยครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook