สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

โรคใบสีส้ม

การทำนาไม่ว่าจะปลูกข้าวในฤดูกาล หรือ นอกฤดูกาล เราควรเฝ้าระวังโรคพืชจากสภาพอากาศและความชื้น รวมทั้งแมลงที่เป็นตัวพาหะชั้นดีในการนำโรคพืชต่างๆ มาสู่ต้นข้าวในนาได้ หากต้นข้าวในนาติดโรคพืชแล้วก็จะทำให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงเพราะข้าวออกรวงได้ไม่เต็มที่ จนทำให้รายได้ที่ควรจะเกิดขึ้นของเราลดลงได้

โรคใบสีส้ม เป็นโรคพืชอีกโรคหนึ่งที่สามารถระบาดได้ในนาข้าวและยังสร้างความเสียหายให้ผลผลิตได้สูงมาก โดยโรคนี้เกิดจากแมลงศัตรูพืชข้าวชนิดหนึ่งที่เป็นตัวพาหนะนำโรคดังกล่าวมาสู่ต้นข้าว แมลงชนิดนั้น คือ เพลี้ยจักจั่นสีเขียว ซึ่งเป็นเพลี้ยที่มีขนาดเล็ก ลำตัวมีสีเขียวอ่อนกลมกลืนกับสีของใบข้าว มีจุดสีดำบริเวณท้ายลำตัว หรือ มีลายดำแต่งแต้มอยู่บนตัว เมื่อต้นข้าวติดโรคใบสีส้มแล้ว บนใบข้าวจะมีรอยขีดเป็นทางยาวก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม ใบเริ่มโปร่งแสงจากปลายใบและขยายตัวเป็นวงกว้างไปจนถึงโคนใบ เมื่อสังเกตบริเวณใบสีเหลืองส้มจะพบจุดสีน้ำตาลเล็กๆ ซึ่งเป็นเชื้อราของโรคใบสีส้ม หากไม่รีบกำจัดก็จะทำให้โรคนี้แพร่ระบาดไปยังต้นข้าวต้นอื่นในแปลงนาได้ โดยเราต้องกำจัดเพลี้ยจักจั่นสีเขียวที่เป็นต้นเหตุของโรคใบสีส้มนั่นเองครับ

วิธีการกำจัดและป้องกันโรคใบสีส้มในแปลงนา ให้เริ่มจากการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เป็นพันธุ์ที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมและโรคพืชต่างๆ รวมทั้งโรคใบสีส้มได้ดีมาปลูกลงในแปลง เช่น ข้าวพันธุ์ กข 1  และ พันธุ์ กข 3 และให้ทำการสังเกตแมลงวัชพืชในนาข้าวตลอดในทุกขั้นตอนการปลูกไปจนถึงการเก็บเกี่ยว หากพบว่ามีเพลี้ยจักจั่นสีเขียวอาศัยอยู่ในแปลงข้าวให้รีบกำจัดแมลงพาหะของโรคในทันที เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคดังกล่าว วิธีกำจัดเพลี้ยจักจั่นสีเขียวอาจใช้วิธีทางธรรมชาติโดยที่ไม่ต้องพึ่งพาสารเคมี เพื่อไม่ให้มีสารเคมีตกค้างในนาข้าว  โดยการเลี้ยงตัวห้ำศัตรูจักจั่นสีเขียว ตัวห้ำจะล่าและกินจักจั่นสีเขียวทำให้มีปริมาณน้อยลงและหมดไปจากแปลงได้

ถ้าหากพบว่ามีโรคใบสีส้มระบาดในต้นข้าว และจำเป็นที่จะต้องใช้สารบางชนิดเพื่อที่จะกำจัดโรคใบสีส้มให้หมดไปจากแปลงนา แนะนำให้ใช้น้ำส้มควันไม้ที่สามารถหาซื้อได้ง่าย มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเกิดเชื้อราบนต้นพืชได้ และช่วยกำจัดเพลี้ยจักจั่นสีเขียวไปในตัวอีกด้วยครับ แต่ถ้าหากพบว่ากล้าข้าว หรือ ต้นข้าวต้นไหนติดโรคใบสีส้มจนเหี่ยวเฉาตายแล้วให้นำต้นข้าวนั้นไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อกำจัดโรคใบสีส้มไม่ให้ระบาดในนาข้าวได้อีกต่อไปในทันทีครับ เพียงเท่านี้นาข้าวของเพื่อนๆ เกษตรกรก็จะห่างไกลจากโรคใบสีส้มแล้วล่ะครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook