สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

โรคต่าง ๆ ที่พบในต้นพริก

พริก พืชผักสวนครัวที่อยู่คู่ความจัดจ้านของอาหารไทยมาช้านาน ไม่ว่าจะนำมารับประทานกันสดๆ แกล้มกับอาหารหรือจะนำมาเป็นส่วนประสมของเมนูต่างๆ รวมทั้งแปรรูปเป็นพริกป่น พริกแห้ง พริกแช่แข็ง ซอสพริก น้ำพริก น้ำจิ้มและสารสกัดจากพริกต่างๆ  ขายได้ทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยแหล่งผลิตพริกที่สำคัญจะกระจายไปตามจังหวัดต่างๆ เช่น แถบอีสานใต้ อย่างอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ชัยภูมิ นคาราชสีมา แพร่ เชียงใหม่ ตาก นครศรีธรรมราช เป็นต้น

ในการที่จะปลูกพริกนั้น สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือความรู้เรื่องโรคพืชที่เกิดขึ้นในพริก เพราะส่งผลกระทบต่อผลิตผลที่จำได้รับ หากเราสามารถจำแนกโรคได้อย่างถูกต้องย่อมแก้ปัญหาได้อย่างถูกจุดตรงประเด็น โดยโรคในพริกหลักๆ ได้แก่

  • โรคกุ้งแห้งหรือโรคแอนแทรคโนส สามารถสังเกตได้จากอาการของผลพริก ก้านใบ หรือ ก้านผลที่มีจุดสีน้ำตาลวงกลมเกิดขึ้นและขยายตัวเป็นขนาดใหญ่ขึ้น จนทำให้พริกและใบหลุดร่วง โดยมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่พริกเริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่พริกเขียวไปจนกระทั่งพริกสุก โรคนี้จะแพร่กระจายสปอร์ของเชื้อราไปยังต้นอื่นๆ ผ่านลมและน้ำ ทำให้ระบาดได้ง่ายในช่วงฤดูฝน ดังนั้นเพื่อป้องกันการระบาดของโรคตั้งแต่แรกเริ่ม ก่อนปลูกพริก ควรวางแผนการเว้นระยะการปลูกให้เหมาะสมเพื่อให้แสงสว่างส่องได้ทั่วถึง ลดความชื้นที่เอื้อต่อการเติบโตของเชื้อรา และเมื่อปลูกพริกแล้วควรตรวตราสวนอย่างใส่ใจและสม่ำเสมอ หากพบว่าต้นพริกมีอาการดังกล่าวให้รีบทำการเผาเพื่อกำจัดทันที เพื่อป้องกันการลุกลามไปยังต้นอื่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดไปทั่งทั้งแปลงซึ่งจะก่อความเสียหายอย่างรุนแรง
  • โรคเหี่ยวเขียว ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย สังเกตได้จากต้นพริกที่เริ่มเหี่ยวแห้งในช่วงกลางวันในหน้าแล้งที่ภูมิอากาศร้อนจัด แต่จะกลับมาฟื้นตัวได้ดีในช่วงกลางคืน และเพียง 2-3 วันต้นพริกจะเหี่ยวแม้ว่าใบจะอยู่ดูเขียวขจีอยู่ก็ตามและยืนต้นตายในที่สุด ดังนั้นก่อนที่จะปลูกพริก ต้องสำรวจให้แน่ใจว่าบริเวณที่จะปลูกไม่เคยเกิดโรคในพริกชนิดนี้ระบาดมาก่อน
  • โรคใบหงิกในพริก มักเกิดขึ้นและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในพริกที่ยังโตไม่เต็มที่ โดยใบจะมีสีเขียวซีด แผ่นใบหงิกม้วน ต้นพริกไม่สมบูรณ์ เติบโตช้าหรือชะงักการเติบโต ผลพริกที่ได้จะมีขนาดเล็กและมีผลที่หงิก เป็นเป็นโรคที่แพร่กระจายเชื้อมาจากแมลงหวี่ขาว ดังนั้นจะต้องมีการควบคุมแมลงศัตรูพืชด้วยชีวภัณฑ์อย่างสม่ำเสมอ ขณะเดียวกันต้องหมั่นตรวจสอบอาการของต้นพริกหากพบว่ามีอาการของโรคให้ดำเนินการถอนและเผาทิ้งทันที

ตัวอย่างที่ยกมาเป็นส่วนหนึ่งของโรคในพริกที่นำมาชวนคุย เพื่อให้เกษตรกรมือใหม่ได้เห็นภาพของโรคที่เราจะต้องรับมือหากคิดจะทำสวนพริก เพื่อจะได้วางแผนการลงทุนได้อย่างเหมาะสม

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook