สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ใบต่างเหรียญ หญ้าคลุมดินที่กำลังมาแรง

ใบต่างเหรียญ หญ้าคลุมดินที่กำลังมาแรง เพราะความเขียวขจีและปลูกง่าย ทำให้กลายเป็นหญ้าสนามที่นักตกแต่งสวนนำไปปูพื้นสนาม โดยไม่ต้องกังวลเรื่องของการรดน้ำให้ปุ๋ยหรือตัดแต่งมากเหมือนหญ้าอื่นๆ โดยทั่วไป เพราะต้นใบต่างเหรียญนั้นเป็นพืชล้มลุกที่เจริญเป็นแนวนอนราบไปกับหน้าดิน จึงไม่สูงรกรุงรัง แต่ก่อนนั้นพืชชนิดนี้เป็นพืชท้องท้องไร่ พบได้ทั่วไปในทุกจังหวัดและเติบโตได้ทุกฤดู สามารถเติบโตได้เองตามธรรมชาติ ทนทานต่อทุกสภาพอากาศ ไม่ต้องการน้ำมาก แผ่กระจายปกคลุมดินได้ดี

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นใบต่างเหรียญนั้น จะเป็นหญ้าล้มลุก ลำต้นจะเติบโตเลื้อยไปกับพื้นดิน ลำต้นเป็นเถาขนาดเล็กมีข้อสีน้ำตาล มีขนอ่อนๆ ขึ้นตามบริเวณลำต้น ลำต้นเหนียว ขาดยาก ในแต่ละข้อของเถาลำต้นจะเกิดรากเพื่อชอนไชลงไปดูดซับอาหารในดินมาเลี้ยงส่วนต่างๆ ของลำต้น มีใบกลมมน แทบไม่มีก้านใบ บนใบมีขนบางๆ ใบสีเขียวอาจจะสีเข้มหรืออ่อนขึ้นอยู่กับการได้รับแสง หากรับแสงมากจะมีสีเขียวจัด ในช่วงเช้าจะผลิดอกสีขาวขนาดเล็ก และเมื่อแดดเริ่มจ้าดอกที่บานก็จะหุบไป

ใบต่างเหรียญนั้นดูผิวเผินจะละม้ายกับหญ้าเกล็ดหอย เพราะมีลำต้นที่เป็นเถาและใบคล้ายกัน แต่หากสังเกตให้ดีจะพบว่า ใบของต้นใบต่างเหรียญนั้นจะเป็นใบเดี่ยว แตกต่างจากหญ้าเกล็ดหอยที่มีใบย่อย 3 ใบหรือที่เราเรียกว่าใบประกอบนั่นเองครับ และดอกของหญ้าเกล็ดหอยนั้นจะเป็นสีม่วง แค่สังเกต 2 จุดนี้ เราก็จะไม่สับสนกันแล้วครับ

การปลูกใบต่างเหรียญนั้น เรานิยมปลูกคลุมดินไว้ให้ทึบ เพื่อป้องกันไม่ให้วัชพืชเจริญเติบโตในพื้นที่ที่เราไม่ต้องการ โดยเฉพาะในสนามหญ้าต่างๆ หรือพื้นที่โล่ง นอกจากความทนทานต่อทุกสภาพดินและอากาศ ไม่ต้องรดน้ำให้ปุ๋ยแล้ว ต้นไม้ชนิดนี้ยังสามารถรองรับการเหยียบเดินได้ ไม่ตายง่ายๆ และเมื่อเรานั่งทับก็ไม่รู้สึกระคายเคืองผิว จนเกิดความนิยมปลูกกันอย่างมาก แต่ข้อเสียก็ยังมีให้เราต้องคำนึง เพราะต้นใบต่างเหรียญนั้นใช้เวลาในการขยายพันธุ์มากกว่าหญ้าคลุมดินชนิดอื่น และหากปลูกในที่แสงรำไรจะทำให้สีของใบไม่เขียวขจีมาก และต้นอาจเน่าได้เมื่อเกิดน้ำขังครับ ดังนั้นเมื่อเรารู้ข้อด้อยของใบต่างเหรียญแล้ว เราก็ควรปลูกไว้ในที่แสดงแดส่องถึงแรงๆ เพื่อจะได้พืชที่คลุมดินได้อย่างหนาแน่น มีสีเขียวชอุ่มได้ทั้งปี เพื่อให้สนามหญ้าที่เราปลูกนั้นเขียวขจีตลอดทั้งปีครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook