สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ไก่ไข่ ในวันที่ไข่ไก่เป็นที่ต้องการของคนทั่วโลก

ปัจจุบันนี้ทั่วโลกต้องการความมั่นคงทางอาหารครับ และอาหารที่มีโปรตีนสูงละราคาจับต้องได้ง่ายที่สุดก็คือไข่ไก่ ที่สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้นับพันเมนู และยังสามารถแปรรูปได้สารพัดอย่าง ดังนั้นการเลี้ยงไก่ไข่จึงนับว่าเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับเพื่อนๆ เกษตรกรกันเลยทีเดียวครับ เพราะทั้งเลี้ยงดูไม่ยุ่งยาก และยังมีการพัฒนาสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตคุ้มค่ากับการลงทุนมากด้วย จนบ้านเราสามารถส่งออกไข่ไก่ไปต่างประเทศกันแล้ว

ก่อนที่จะเราจะเลี้ยงไก่ไข่ เราก็ควรรู้จักพันธุ์ต่างๆ ที่เพื่อนๆ นิยมเลี้ยงกันก่อนนะครับ เพราะแต่ละพันธุ์ก็มีจุดน่าสนใจไม่เหมือนกัน เริ่มจากพันธุ์ไก่ไข่กรมปศุสัตว์ ที่มีขนไล่เฉดสีน้ำตาลจากอ่อนไปเข้ม หงอนจักรสีแดงสดขนาดใหญ่ เหนียงและตุ้มหูมีสีแดงเหมือนหงอน  เปลือกไข่ไก่ที่ได้จะมีสีน้ำตาลอ่อน ให้ผลผลิตประมาณปีละ 290 ฟอง ใช้เวลาเลี้ยงประมาณไม่เกิน 5 เดือนครึ่งจึงเริ่มออกไข่ฟองแรก ส่วนพันธุ์โรดไทยคล้ายคลึงกับพันธุ์กรมปศุสัตว์นั้น เปลือกไข่จะมีสีเข้มกว่าเล็กน้อย ใช้เวลาเลี้ยงจนถึงให้ไข่พอๆ กับพันธุ์แรก แต่ให้ไข่ได้ประมาณปีละ 240 ฟอง และพันธุ์สุดท้ายคือพันธุ์ยอดฮิต พันธุ์ไก่ไข่เล็กฮอร์นขาวหงอนจักร  เป็นไก่ตัวเล็กขนสีขาว เปลือกไข่สีขาว เลี้ยงเพียง 4 เดือนกว่าๆ ก็ให้ไข่ฟองแรกและสามารถให้ไข่ได้ปีละ 300ฟองเลยครับ

เวลาเราจะไปหาพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ก็ต้องเลือกที่เป็นไก่ไข่จริงๆ จากฟาร์มที่มีชื่อเสียงและมีคุณภาพ ปรับตัวได้ดี ให้ไขใบใหญ่และให้ไข่จำนวนมาก เปลือกไข่หนา เพื่อที่เราจะได้ผลประกอบการที่ดีที่สุดครับ และเราเองก็ควรมีการเตรียมการเลี้ยงด้วยการปลูกพืชผักที่เราจะใช้เป็นอาหารเสริมของไก่รอไว้เลย เช่นกล้วยน้ำว้า หรือผักใบต่างๆ เป็นต้น

หากเราเริ่มต้นเลี้ยงไก่ไข่ระยะแรก แนะนำให้เลี้ยงไม่เกิน 20 ตัวครับ ค่อยๆ หัดเลี้ยงกันไป อย่าเพิ่งทุ่มทุนสูง จัดทำโรงเรือนคอนกรีตที่ โปร่ง สะอาด มีอากาศถ่ายเทได้ดี กันแดด กันลม กันฝน กันสัตว์ แมลงให้ดี จัดให้อยู่ห่างไกลจากบ้านใกล้เรือนเคียง เพื่อให้รบกวนเพื่อนบ้าน พื้นของโรงเรือนปูด้วยแกลบหนา 10 เซนติเมตร และให้อาหารอัดเม็ดและอาหารเสริมตามช่วงอายุไก่ไข่ รวมทั้งน้ำในรางน้ำอย่าได้ขาดโดยเฉพาะในช่วงกำลังไข่ เพราะมีผลต่อขนาดของไข่ไก่ที่ออกมามาก

การปลูกโรงเรือนไก่ไข่นั้น หากเรามีการขยายการเพาะเลี้ยง ก็ต้องเว้นระยะห่างระหว่างโรงเรือนไม่น้อยกว่า 12 เมตร เพื่อให้แต่ละโรงเรือนไม่บังลมบังแสงกัน และที่สำคัญที่ที่สุดคือป้องกันการระบาดของโรค เพราะสิ่งเหล่านี้หากเกิดขึ้น เราจะเกิดการสูญเสียไม่มาก ถ้าเราวางแผนการเลี้ยงไว้อย่างดีครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook