สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ปลาดุกอุย

ปลาดุกอุย ปลาดุกที่ผู้บริโภคในประเทศไทยนิยมรับประทานกันอย่างมาก แม้ว่าจะมีปลาดุกด้าน ซึ่งเป็นปลาดุกอีกชนิดที่เพื่อนๆ เกษตรกรนิยมเพาะเลี้ยงในอดีต แต่กลับไม่ได้รับความนิยมเทียบเท่าปลากดุกอุย เพราะมีเนื้อปลาที่รสชาติถูกปากมากกว่า จึงเกิดการเพาะเลี้ยงปลาดุกอุยเพิ่มมากขึ้นในทั่วทุกภาคของประเทศไทย ตามธรรมชาติแล้วปลาดุกอุยจะอยู่ในแหล่งน้ำจืดต่างๆ ตั้งแต่แม่น้ำ ไปจนถึงท้องนา เพราะสามารถกินอาหารได้ทุกชนิด ทั้งสัตว์น้ำขนาดเล็กและซากสัตว์ต่างๆ

ปลาดุกอุยเป็นปลาหนัง ไม่มีเกล็ดตามลำตัว ลักษณะรูปร่างลำตัวยาว สีเทาเข้มจัด หัวและข้างลำตัวแบน ครีบมีรอยหยักแหลมคม มีหนวด 8 เส้น หายใจทางเหงือก สามารถทนทานต่อการไม่มีออกซิเจน การแยกเพศปลาดุกอุย จะสังเกตได้โดยการหงายตัวปลาจะมีอวัยวะเพศอยู่บริเวณทวาร โดยเพศผู้จะมีติ่งเนื้อยาวปลายแหลม ส่วนเพศเมียจะมีติ่งเนื้อกลมสั้น หากเป็นช่วงผสมพันธุ์จะสังเกตได้ชัดเพราะปลาตัวเมียจะมีส่วนท้องบวม ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่สามารถขยายพันธุ์ได้เมื่อปลามีอายุ 6 เดือน โยจะงดขยายพันธุ์ในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น  โดยจะวางไข่ได้ครั้งละไม่น้อยกว่า 2,000 ฟอง แต่ไม่เกิน 5,000 ฟอง ตามความพร้อมของแม่พันธุ์

การนำปลาดุกอุยพ่อแม่พันธุ์มาเลี้ยงนั้น เรามักจะเลี้ยงในบ่อดินขนาดใหญ่ตั้งแต่ 100 ตารางเมตรขึ้นไป และมีน้ำลึกราว 1.5 เมตร โดยปล่อยพ่อแม่พันธุ์ประมาณ 10-15 คู่ต่อตารางเมตร สิ่งสำคัญคือการหมั่นถ่ายน้ำในบ่อ ซึ่งเป็นการเร่งให้ปลาเจริญอาหาร เร่งไข่ เร่งน้ำเชื้อ ทำให้ขยายพันธุ์ได้เร็วขึ้น การเลือกพ่อแม่พันธุ์ตั้งเลือกที่มีอายุมากกว่า 1 ปี มีน้ำหนักมากกว่า 2 ขีดโดยเพศเมียจะต้องมีท้องบวมไม่นุ่มหรือกระด้างเกิน สำหรับปลาที่เพิ่งฟักออกมา ให้ใช้ไข่แดงต้มสุกบดละเอียดเป็นอาหาร ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นไรแดงต่อไป ส่วนบ่อที่ใช้ในการอนุบาลนั้นนิยมอนุบาลในบ่อคอนกรีตหรือบ่อซีเมนต์ ขนาดเล็ก ราว 4 ตารางเมตร น้ำลึกเพียง 15-25 เซนติเมตร ปล่อยปลาในอัตราส่วน 3,000 ตัวต่อตารางเมตร โดยให้เปลี่ยนน้ำทุกวัน เพื่อกระตุ้นให้ปลาโตไว

สิ่งที่ต้องระมัดระวังในการเลี้ยงปลาในช่วงอนุบาลคือการเน่าเสียของน้ำในบ่อปลา ซึ่งเกิดจาการที่อาหารปลาเน่า เพราะเราให้อาหารเยอะเกินไป วิธีการที่ดีที่สุดคือหมั่นเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อและไม่ให้อาหารมากเกิน ค่อยๆ เพิ่มปริมาณอาหารแล้วสังเกตว่ามีอาหารเหลือเมื่อไรให้หยุดให้ทันที หากพบว่าลูกปลาติดเชื้อให้รีบให้ยาปฏิชีวนะเพื่อให้ปลากลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็วครับ ถ้าเราเลี้ยงอนุบาลปลาดุกอุยในบ่ออนุบาลจนสมบูรณ์เต็มที่ การดูแลปลาใหญ่ก็จะเป็นเรื่องยุ่งยากแล้วครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook