ประเทศไทยประสบปัญหาผลผลิตข้าวคุณภาพต่ำส่งผลให้ราคาข้าวตกต่ำ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ระบุปัญหาสำคัญ 6 ประการ ได้แก่ ปัญหาการผลิต ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ คุณภาพข้าวไม่ดี พันธุ์ข้าวไม่เหมาะสมกับพื้นที่ ปัญหาการตลาด และปัญหาการบริหารนโยบายของรัฐ ปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพอากาศและการขาดเงินทุนสำหรับเทคโนโลยีที่ให้ผลตอบแทนสูงก็มีบทบาทในปัญหานี้เช่นกัน ส่งผลให้ข้าวไทยสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับประเทศอื่น และชาวนาก็ประสบปัญหาหนี้สินและอาจสูญเสียที่ดิน
แม้ว่าทุกภาคส่วนจะเร่งหาแนวทางแก้ไขที่ เช่น การจัดตั้งโรงเรียนชาวนาเพื่อให้ความรู้แก่ชาวนา รวมทั้งการจัดการองค์ความรู้ให้กับชาวนาผ่านงานวิจัยหลายชิ้นด้วยการระดมความคิดเห็นหลายฝ่าย เช่น ผู้ปลูกข้าว ผู้ประกอบการสีข้าว กลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตข้าว และสร้างแนวทางการจัดการความรู้ ขณะเดียวกันได้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันต่างๆ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้ได้โดยง่าย แต่ยังไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของชาวนาได้อย่างเหมาะสม
สวก.จึงสนับสนุนทุนวิจัยในโครงการ “การจัดการความรู้การผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อพัฒนาเกษตรกรและเพิ่มคุณภาพการผลิตอย่างยั่งยืน” โดยมี ผศ. ดร.กฤติยา รุจิโชค เป็นหัวหน้าโครงการ เพื่อสร้างระบบการจัดการองค์ความรู้ และนำองค์ความรู้ที่ได้มานำเสนอด้วยเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ด้วยการสร้างเรื่องราว (Story) พร้อมแนวทางการนำเสนอที่ดึงดูดใจ เช่น การสร้าง Animation ชาวนาอัจฉริยะ โดยได้แบ่งประเภทองค์ความรู้ด้านการสร้างชาวนาอัจฉริยะตามสภาพความเป็นจริงต่อการปลูกข้าวเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการสร้างรายได้ ดังนี้
- องค์ความรู้พื้นฐานในการปลูกข้าว (Knowledge Based Farmer)
- นโยบายภาครัฐบาลทั้งมหภาคและจุลภาค (Government policy)
- ความรู้เกี่ยวกับวิกฤติที่เกี่ยวข้องกับการปลูกข้าว (Crisis Situation)
- เทคโนโลยีและวิธีการผลิต (Technology and Knowhow)
- การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าว (Added Value Rice Product)
- การตลาดและการสื่อสาร การตลาด (marketing communication)
โดยองค์ความรู้ต่าง ๆ จะถูกนำเสนอเป็นสื่ออัจฉริยะ (AI) ทุกประเภท แล้วนำมาบรรจุไว้ใน Applications “ชาวนาอัจฉริย: ปลูกข้าวอย่างไรให้รวย” ส่งผ่านข้อมูลความรู้ด้านการผลิตข้าวด้วยดิจิทัลเทคโนโลยีสำหรับการขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐสู่เกษตรกร เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ระหว่างชาวนา หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญ อุตสาหกรรมแปรรูปข้าว
ผลสำเร็จของการวิจัยได้สร้างโอกาสให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในการเข้าถึงความรู้ ข้อมูล นโยบายรัฐที่รองรับสถานการณ์เร่งด่วนต่อการแก้ปัญหาการผลิตข้าวให้ได้ประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ในการกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐสู่เกษตรกรที่ทำให้เกษตรกรพร้อมรับมือในสถานการณ์เร่งด่วนต่อการผลิตข้าวเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ และยังเป็นการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ (Smart Farmer) ที่มีศักยภาพในการทำนา ผลิตข้าวเปลือกและ ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพสามารถลดการพึ่งพาจากภาครัฐได้