สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

การพัฒนารูปแบบสู่ความมั่นคงทางด้านอาหารด้วยนวัตกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำ ปลูกพืชและการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต

ปัจจุบันเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกำลังเผชิญกับความท้าทาย อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์และความแปรปรวนทางธรรมชาติ ส่งผลให้องค์ประกอบของชั้นบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไป ในประเทศไทย อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับผลกระทบอย่างมากจากภัยแล้ง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในฤดูฝน น้ำไม่เพียงพอในฤดูแล้ง อุณหภูมิที่สูงมากในฤดูร้อน พายุและเมฆปกคลุมพื้นที่ และการขาดออกซิเจนหรือแอมโมเนียทำให้เกิดการตายของปลา เกษตรกรรายย่อยยังไม่สามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และส่งผลให้การเลี้ยงปลาเกิดความความเสี่ยงสูงขึ้น แม้ว่าเกษตรกรที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำและระบบชลประทานจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แต่เกษตรกรที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งน้ำเหล่านี้ได้รับผลกระทบอย่างมาก

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพน้ำ ซึ่งส่งผลต่อการเลี้ยงปลาในบ่อดิน อ่างเก็บน้ำ และแม่น้ำ อุณหภูมิของน้ำในพื้นที่การผลิตจะขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ ระดับความสูง การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ และความเร็วลม ตลอดจนขนาดและความลึกของสถานที่ผลิต คุณภาพน้ำ และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการปรับวิธีการเพาะเลี้ยงน่าจะช่วยแก้ปัญหาและลดความเสี่ยงให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงได้

เพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สวก. จึงสนับสนุนทุนในโครงการ “การพัฒนารูปแบบสู่ความมั่นคงทางด้านอาหารด้วยนวัตกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำ ปลูกพืชและการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต” ซึ่งประกอบด้วยโครงการต่าง ๆ ดังนี้

  • การพัฒนานวัตกรรมสมัยใหม่เพื่อเพิ่มผลิต ลดต้นทุนและลดความสูญเสียจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ครอบคลุมถึง การเพิ่มผลผลิตปลากะพงขาวด้วยการจัดการด้านอาหารเพื่อรักษาระดับออกซิเจนและการควบคุมอุณหภูมิในระบบที่เลี้ยงแบบหนาแน่นในระบบน้ำหมุนเวียน การใช้สารสกัดแทนนินจากพืชท้องถิ่นเพื่อลดแอมโมเนียในการเลี้ยงปลาดุกแบบหนาแน่นระบบไบโอฟลอค เพื่อลดการเปลี่ยนถ่ายน้ำในสภาวะภัยแล้ง ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี floating solar system ร่วมกับไมโครนาโนบับเบิ้ลแบบอัตโนมัติในการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในสภาวะน้ำแล้ง อาหารปลาต้นทุนต่ำเพื่อการเลี้ยงปลานิลในสภาวะภัยแล้ง และ พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับการจัดการการเลี้ยงปลานิล และการตัดสินใจในการลงทุน
  • ออกแบบระบบจัดการน้ำ และพลังงานไฟฟ้าสำหรับการเลี้ยงปลาและปลูกพืชเพื่อรองรับการทำการเกษตรแปลงเล็ก ในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ และประสบภาวะภัยแล้ง (ไม่มีแหล่งน้ำจากภายนอก) 4-6 เดือน

โครงการวิจัยนี้ได้พัฒนานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่ที่เหมาะสมกับเกษตรกร เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และลดการสูญเสียจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นวัตกรรมเหล่านี้ถูกนำไปใช้อย่างเหมาะสมกับพื้นที่และระบบการเพาะเลี้ยงเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนท้องถิ่นได้อย่างมาก เกษตรกรสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเพิ่มความมั่นคงอาหาร เพิ่มแหล่งอาหารโปรตีนและผักที่มีประโยชน์ให้กับชุมชน นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปสู่โอกาสการจ้างงานในท้องถิ่น การกระจายรายได้และผลกำไร เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในท้องถิ่น สามารถทำให้ฐานรากของชุมชนเข้มแข็งและช่วยให้คนในชุมชนประหยัดค่าใช้จ่ายและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างมีความสุข

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook