สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

การพัฒนาแบบจำลองปัญญาประดิษฐ์สำหรับการพยากรณ์ดัชนีความแห้งแล้ง และระบบสนับสนุนการตัดสินใจการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจในจังหวัดเชียงใหม่

ภัยแล้งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สามารถจัดได้ว่าเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติหากก่อให้เกิดผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อมนุษย์หรือกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรม ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ภาคการเกษตรมักจะได้รับผลกระทบจากภัยแล้งในช่วง 2 ช่วง คือ ฤดูร้อน (มีนาคมถึงเมษายน) หรือที่เรียกว่า “ฝนแล้ง” และกลางฤดูฝน (ปลายมิถุนายนถึงกรกฎาคม) ซึ่งเป็นระยะ “ฝนทิ้งช่วง”

พื้นที่เชียงใหม่มีความเสี่ยงต่อภัยแล้งเป็นพิเศษทั้งในด้านการเกษตรและการอุปโภคบริโภค ตามข้อมูลของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (2563) การวิเคราะห์พื้นที่ภัยแล้งซ้ำซากตั้งแต่ปี 2555-2559 ระบุว่า เชียงใหม่เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนบนที่ประสบปัญหาภัยแล้งมากที่สุด โดยมี 9 อำเภอที่ประสบภัย ตามรายงานของ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (2560) กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลักของจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ การเกษตร ป่าไม้ และการประมง โดยภาคอุตสาหกรรม การค้าส่งและค้าปลีกมีบทบาทสำคัญเช่นกัน สินค้าหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด กระเทียม หอมแดง มันฝรั่ง หอมหัวใหญ่ ลำไย ลิ้นจี่ ส้มเขียวหวาน สุกร ไข่ไก่ โคเนื้อ และน้ำนมดิบ ตามข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2563) สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด (2563) รายงานว่า สินค้าเกษตร 5 อันดับแรกของจังหวัดเชียงใหม่ในปี 2562 ได้แก่ ลำไย ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวนาปรัง และหอมแดง ลำไยเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้นับล้านบาทต่อปี มีผลผลิตประมาณ 850,000 ไร่ ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน คณะทำงานสำรวจไม้ผลเศรษฐกิจภาคเหนือ (2563) พบว่าอำเภอจอมทอง พร้าว ดอยเต่า สันป่าตอง และสารภี เป็นแหล่งปลูกลำไยที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผลผลิต 16,394 22,3619 ตัน, 7,614 12,829 ตัน และ 19,460 ตัน ตามลำดับ

จากปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นจึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยเกษตรกรในการแก้ปัญหาภัยแล้ง เช่น แอปพลิเคชัน Ricult ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศแบบเฉพาะเจาะจงเป็นรายแปลง รวมถึงข้อมูลอุณหภูมิและปริมาณฝน รายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน สามารถพยากรณ์ฝนล่วงหน้าถึง 9 เดือนและช่วยเกษตรกรวางแผนการเพาะปลูกและดูแลพืชผล และแอปพลิเคชัน Thai Water ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ที่พยากรณ์ปริมาณน้ำฝนล่วงหน้า 7 วันในระดับประเทศ ทำให้เหมาะสำหรับการจัดการในระบบใหญ่ อย่างไรก็ตาม แอปพลิเคชันทั้งสองไม่ได้ให้ข้อมูลสำหรับการบรรเทาภัยแล้งหรือการวางแผนการเพาะปลูกในระดับจังหวัดหรืออำเภอ

สวก.จึงได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การพัฒนาแบบจำลองปัญญาประดิษฐ์สำหรับการพยากรณ์ดัชนีความแห้งแล้งและระบบสนับสนุนการตัดสินใจการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจในจังหวัดเชียงใหม่” เพื่อพัฒนาแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมสำหรับการพยากรณ์ฝนล่วงหน้าที่ใช้เวลาในการประมวลผลน้อยกว่าแบบจำลองสภาพภูมิอากาศโดยคณะผู้วิจัยได้สร้างแบบจำลองปัญญาประดิษฐ์เพื่อพยากรณ์ปริมาณน้ำฝน และค่า SPI ล่วงหน้า ณ ตำแหน่งสถานีวัดน้ำฝนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ แล้วนำมาค่าที่ได้จากสถานีต่างๆ มาใช้วิธี Interpolate จนได้ข้อมูลเชิงพื้นที่ ที่สามารถแสดงตำแหน่งของแปลงปลูกของเกษตรกรอย่างแม่นยำกว่า และแสดงระดับความแล้งของแต่ละถึงพื้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรที่สามารถจะใช้โมบายแอพพลิเคชั่นช่วยให้ข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในการปลูกพืช สามารถวางแผนบรรเทาภัยแล้ง และการเพาะปลูกในภาพรวมระดับจังหวัดได้ และระบบสนับสนุนการตัดสินใจการปลูกพืชตามความเหมาะสมของสภาพอากาศ เพื่อให้เกษตรกรสามารถวางแผนการเพาะปลูกได้ดียิ่งขึ้น

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook