สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ต้นตีนเป็ดน้ำ หรือตีนเป็ดทะเล

ต้นตีนเป็ดน้ำ หรือตีนเป็ดทะเล ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cerbera odollam ส่วนชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ คือ pong-pong tree เป็นไม้พันธุ์พื้นเมืองของอินเดียและประเทศในแถบเอเชียใต้ที่กระจายพันธุ์ไปยังดินแดนเขตร้อนและอบอุ่น พบได้บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและชายฝั่งทะเล ป่าโกงกาง ลักษณะของต้นคล้ายกับต้นยี่โถ เป็นไม้ที่มีความเป็นพิษสูง แต่เป็นคนละต้นกับ ต้น “ตีนเป็ด” หรือ “พระยาสัตตบรรณ” โดยจากการสัมภาษณ์ ผศ.ภก.ดร.ชัยศักดิ์ จันศรีนิยม ในช่องยูทูบชัวร์ก่อนแชร์ นั้น แนะนำว่า ให้สังเกตได้ว่าต้นตีนเป็ดธรรมดานั้น จะเป็นไม้ยืนตนขนาดกลางถึงใหญ่ มีดอกเล็กๆ สีเหลืองอมเขียว กลิ่นแรง ให้ผลเป็นฝัก ซึ่งแตกต่างจากต้นตีนเป็ดน้ำที่ผลจะเป็นลูกกลม ๆ ดอกจะมีสีขาว ตรงกลางดอกจะมีสีเหลืองนะครับ ดังนั้นต้องย้ำว่า ต้นที่มีพิษร้ายแรง คือ “ต้นตีนเป็นน้ำ” ที่เมล็ดจะมีสาร cerberin ชนิด cardiac glycoside toxin ที่เป็นพิษต่อหัวใจ ที่จะออกฤทธิ์ทำให้หัวใจเต้นช้าลง จนอาจเกิดการหยุดชะงักของการเต้นของหัวใจ  ทำให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงขึ้น อาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงจนเป็นอัมพาตได้ ดังนั้นต้องหลีกเลี่ยงการบริโภคผลและเมล็ดดังกล่าว

ลักษณะของต้นตีนเป็ดน้ำ จะมีความสูงประมาณ 6-12 เมตร เป็นไม้ยืนต้น เปลือกของลำต้นมีสีเทา แตกกิ่งต่ำ ทำให้มีพุ่มไม่สูง แต่แผ่กว้าง ด้านในเปลือกไม้มีครีมเข้มและมียางขุ่นสีขาวภายใน แตกใบหนาแน่นวนรอบกิ่ง ลักษณะใบมีรูปร่างคล้ายหอก ตรงกลางใบผายกว้าง โคนใบเรียว ปลายใบแหลม ทั้งแผ่นใบและท้องใบเรียบเนียนสีเขียว ค่อนข้างหนา ขอบใบเรียบ มีก้านใบชัด แตกดอกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวแต่มีสีเหลืองกลางดอกดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้น กลีบดอกติดกันเป็นทรงคล้ายแตร ผลไม้มีลักษณะกลมและค่อยๆ ยาวรีขึ้นคล้ายผลมะม่วงขนาดเล็ก มีผิวผลสีเขียวเข้ม หากผลแก่จัดเปลือกผลจะเป็นสีม่วงเข้ม เนื้อผลสีครีม รับประทานไม่ได้ เมล็ดตรงกลางผลเป็นรูปไข่ขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร หากเมล็ดโดนอากาศจะเปลี่ยนสีจากสีขาวเป็นสีม่วงแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มและดำในที่สุด

แม้ว่าส่วนของเมล็ดของต้นไม้ชนิดนี้จะเป็นพิษ แต่ในยุคโบราณก็นำความเป็นพิษนี้มาใช้ประโยชน์เป็นสมุนไพรใช้ภายนอก เช่น นำผลสดมาย่างบนไฟร้อนจัดแล้วนำมาใช้รักษาเชื้อราบนผิวหนัง นำเมล็ดมาตำให้ละเอียดแล้วเทลงไปในน้ำผสมให้เข้ากันนำมาสระผมเพื่อกำจัดเหาและนำมาทาบริเวณที่เป็นหิดเพื่อรักษาหิดได้อีกด้วย

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook